ภาษาอีสานหมวด "ว" 141 - 150 จาก 408

  • วันอมุตตโชค
    แปลว่า : วันมีโชคลาภ วันสวัสดีมีชัย เรียก วันอมุตตโชค วันอุตตมโชค ก็ว่า วันอมุตตโชคโบราณให้โฉลกไว้ดังนี้ ทิตย์แปด จันทร์สาม คารเก้า พุธสอง พหัสสี่ ศุกร์หนึ่ง เสาร์ห้า จะทำการใดๆ ถ้าตกอุตตมโชคถือว่าเป็นวันดี วันเลิศ วันประเสริฐนักแล (ประเพณี).
  • วันเฮืองซ้าย
    แปลว่า : ตะวันบ่าย เรียก วันเฮืองซ้าย อย่างว่า คอยเห็นวันเฮืองซ้ายภูสูงแสงต่ำ พุ้นเยอ (สังข์).
  • วันแฮม
    แปลว่า : วันพระจันทร์เริ่มอับแสงไปโดยลำดับ นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำไปจนถึงแรม ๑๕ ค่ำ เรียก วันแฮม การจะทำพิธีมงคลใดๆ เช่น ปลูกเฮือนขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบวชทำบุญบ้านหรืองานฉลอง โบราณมักเลือกเอาวันข้างขึ้น เพราะวันข้างขึ้นถือว่าเป็นวันเจริญรุ่งเรือง.
  • วับวับ
    แปลว่า : อาการกวักมือไวๆ เรียก กวักมือวับวับ เดินเร็วๆ เรียก ย่างวับวับ.
  • วัปปะ
    แปลว่า : การหว่านพืช (ป.).
  • วัมมิก
    แปลว่า : จอมปลวก (ป. วมฺมิก).
  • วัย
    แปลว่า : เขตอายุ ระยะของอายุ (ป.ส. วย).
  • วัยรุ่น
    แปลว่า : วัยย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาว.
  • วัยวุฒิ
    แปลว่า : ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ (ป. วยวุฑฺฒิ).
  • วัลลภ
    แปลว่า : คนสนิท ผู้ชอบพอ คนโปรด คนรัก (ป.ส.).