ภาษาอีสานหมวด "ว" 121 - 130 จาก 408

  • วันทน
    แปลว่า : การไหว้ วันทน วันทนา วันทนาการ ก็ว่า (ป.).
  • วันทา
    แปลว่า : ไหว้ แสดงอาการเคารพ (ป. วนฺท) อย่างว่า ขอวันทาพระยอดคุณไตรแก้ว (กา).
  • วันทุกข์ทึน
    แปลว่า : วันที่ไม่ควรทำการอันเป็นมงคล ถ้าทำก็จะประสบความลำบาก .
  • วันทุติตัง
    แปลว่า : วันที่ประสบความยุ่งยากลำบากใจ เรียก วันทุติตัง จะทำการอันเป็นมงคลโบราณห้าม วันทุติตังมีโฉลกดังนี้ ยี่สามสี่เถิงที่ตะยา ห้าหกเจ็ดอัฐมาเป็นเค้า แปดและเก้าสิบเข้านพพา สิบเอ้ดสิบสองเจียงจาเป็นเอก .
  • วันพระ
    แปลว่า : วันที่พระสงฆ์ทำกิจพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ มีการฟังเทศน์ ทำวัตรสวดมนต์ บำเพ็ญสมถวิปัสสนากัมฐาน เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือวันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม ถ้าเดือนขาดเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียก วันพระ.
  • วันเพ็ง
    แปลว่า : วันพระจันทร์เต็มดวง เรียก วันเพ็ง เดือนหนึ่งๆ มีเพียงหนึ่งวัน คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ.
  • วันยวง
    แปลว่า : เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วส่องแสงยาวลงมาเรียก วันยวง อย่างว่า เซ็งว่าสีหราชท้าวทังโลกเขาขาม เขาก็มายโมหังกล่าวพรถวายถ้อย คบหนึ่งวันยวงขึ้นบัวระพาพ้นทีป เจ้าจักเจียระจากอ้ายพระองค์อ้วนสั่งลา (สังข์).
  • วันราหู
    แปลว่า : วันหม่นหมอง วันไม่สะดวก ถ้าจะไปประกอบธุรกิจหรือทำการมงคล ห้ามหันหน้าหรือไปทางทิศนั้น ทิศที่ราหูอยู่โบราณให้โฉลกไว้ดังนี้ ทิตย์พา จันทร์บู คารหอ พุธทัก พฤหัสอุ ศุกร์ปัจ เสาร์อา.
  • วันลง
    แปลว่า : เวลาที่พระอาทิตย์ตกเรียก วันลง อย่างว่า เมื่อนั้นสะพรั่งพร้อมโดยแาชองค์กษัตริย์ ลาเร็งโญพรากลาลงห้อง พอเมื่อราตรีตั้งวันลงลับโลก ยามจูดใต้เฮืองห้องซู่ภาย (สังข์).
  • วันลุน
    แปลว่า : วันหลัง เรียก วันลุน อย่างว่า อันว่าศิลป์ชัยท้าวโพธิราชบาบุญ เอาไปขังใส่กระแจจำไว้ วันลุนเช้าชิเอามาปิ้งจี่ ลาบแลซั้วแกงส้มใส่งาย (สังข์).