ภาษาอีสานหมวด "ห" 1071 - 1080 จาก 1363
-
หน่อโจด
แปลว่า : พันธุ์ไผ่ที่พบในเมืองไทย สกุลอะรันดินาเรีย มีอยู่ 2 ชนิดคือ ไผ่โจด และไผ่เพ็ก (หญ้าเพ็ก) ไผ่โจด พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นมีสีเขียวอมเทามีความสูงประมาณ 5 เมตร ปล้องค่อนข้างสั้น 10-20 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ7-10 มม. ไม่มีหนามหน่อมีสีเทาแกมเหลือง ลำต้นใช้ทำด้ามไม้กวาด จุดเด่นคือเหง้ามีลักษณะเด่นแปลกตา จึงนิยมมาทำเครื่องประดับภายในบ้าน อาจปลูกเป็นแนวรั้ว และปลูกเป็นไผ่ประดับในบริเวณบ้าน หน่อใช้รับประทานได้ -
เหลื่อมโมงๆ
แปลว่า : แสงวิบวับ แยงตา เงาวับ ขัดจนเงาวับ ฟ้าเหลื่อม เหลื่อมตา -
หม่อมพระนาง
แปลว่า : สตรีที่เป็นเมียของขุนนาง (หมอลำทางภาคอีสาน ใช้เรียกหญิงผู้ที่เป็นที่รัก มีศักดินา) -
ห่าวด่องๆ
แปลว่า : ระริกระรี้ เกินหน้าเกินตา , ดีใจจนออกนอกหน้า -
ไหมปาก
แปลว่า : ค่าปรับสินไหมที่เกิดจากการพูดไม่ดี ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยคำพูดจนโดนปรับไหม -
หัวสัก
แปลว่า : ล้มคะมำ, หัวทิ่ม -
หัวเสียบ
แปลว่า : อาการที่ทำอย่างขยันขันแข็ง -
เหง็บผ่า
แปลว่า : เย็บผ้า บางทีก็ออกเสียง หงิบผ่า หรือ เหง็บผ้า -
เหล็กจูบ
แปลว่า : แม่เหล็ก -
เหล็กดูด
แปลว่า : แม่เหล็ก