ภาษาอีสานหมวด "ห" 1051 - 1060 จาก 1363
-
เหลืองอ่ายห่าย
แปลว่า : เหลืองอร่าม ที่ให้ความรู้สึกแบบสุด ๆ ยิ่งกว่าเหลืองอุ่ยหุ่ย -
หม่ำ
แปลว่า : วิธีการถนอมอาหารของคนอีสาน ใช้เนื้อล้วน ไม่ผสมส่วนที่เป็นไขมัน ผสมเครื่องปรุง แล้วใส่ลงในใส้ คล้ายไส้กรอก เช่น หม่ำเนื้อ, หม่ำหมู, หม่ำตับ -
หม่ำตับ
แปลว่า : วิธีการถนอมอาหารของคนอีสาน ใช้ตับวัวล้วน ไม่ผสมส่วนที่เป็นไขมันหรือเนื้อ ผสมเครื่องปรุง นิยมใส่ไปในกระเพาะ คล้ายไส้กรอก -
หัวเดียวปลายนา
แปลว่า : หัวไร่ปลายนา, บ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันตามพื้นที่ทำกิน ไม่ได้อยู่กระจุกใกล้ ๆ กันเป็นหมู่บ้าน -
เห็ดกระด้าง
แปลว่า : เห็ดชนิดหนึ่ง ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง เห็ดบด เห็ดลม ก็เรียก -
เห็ดบด
แปลว่า : เห็ดชนิดหนึ่ง ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง เห็ดกระด้าง เห็ดลม ก็เรียก -
เหิง
แปลว่า : ตอนไหน, เมื่อไร, เมื่อไหร่ -
หัวเต๋อหัวเติ่น
แปลว่า : ขำกลิ้ง ขำจนท้องแข็ง -
หายจ้อย
แปลว่า : หายไปเสียแล้ว, หายไปแล้ว -
หึย
แปลว่า : เป็นคำอุทานประมาณว่า แหม ชิ ชะ