ภาษาอีสานหมวด "ห" 391 - 400 จาก 1363

  • หยิบ
    แปลว่า : สิ่งของมีประมาณพอที่นิ้วมือจะหยิบขึ้นได้ เรียก หยิบมือ.
  • หยิบ
    แปลว่า : เย็บ เย็บเรียก หยิบ เช่น หยิบเสื้อ หยิบผ้า หยิบผ้าขาวม้า หยิบโส้ง.
  • หยี
    แปลว่า : หรี่ ตาที่หรี่ลง เรียก ตาหยี ตาหี่ ก็ว่า.
  • หยุกหยิก
    แปลว่า : กระดุกกระดิก หงุดหงิด ยุ่งยิ่ง ดิ้นไปดิ้นมา เรียก หยุกหยิก.
  • หยุด
    แปลว่า : ชะงัก นิ่ง อยู่กับที่ พักทำงานแล้วพักงานไว้ เรียก หยุดงาน อย่างว่า ชิไปหยุดอยู่ยั้งบ้านเพิ่นกินหยัง ขงเมืองเฮาแก่วกินกะยังกว้าง (กลอน).
  • หยุด
    แปลว่า : ซ่อมแซมหลังคาเรือนที่รั่ว เรียก หยุดเฮือน อย่างว่า เฮือนบ่หยุดหญ้าหลังคาฝนชิฮั่ว หน้าจั่วบ่แอ้มโจรชิเข้าลักของ (ภาษิต).
  • หยุบ
    แปลว่า : ขยุ้ม ขยุ้มด้วยมือทั้งห้านิ้ว เรียก หยุบ อย่างว่า หมากอ่อนส้อมประสงค์ใส่พลูจวง เทพีหยุบใส่ไตเลยจ้ำ ขุนหลวงเจ้าเมืองเม็งเป็นใหญ่มากิน ผู้ค่อยค้ำคูณลูกญิงเดียว แด่เนอ (ฮุ่ง).
  • หยุม
    แปลว่า : ขยุ้ม ขยุ้มด้วยเล็บ
  • หยุ่ม
    แปลว่า : หมู่ พวก กลุ่ม อยู่กันเป็นหมู่เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นพวก เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นกลุ่ม เรียก เป็นหยุ่ม.
  • หยุ้ม
    แปลว่า : ห้อมล้อม แวดล้อม เช่น คนห้อมล้อมกัน เรียก หยุ้มกัน.