ภาษาอีสานหมวด "ห" 411 - 420 จาก 1363
-
หลง
แปลว่า : สำคัญผิด เข้าใจผิดพลาด หมกมุ่น มัวเมา ลืม อย่างว่า ใผหากลอนลืมม้างไมตรีหลงหล่า ลืมพี่น้องลวงลิ้นโลภมี (ฮุ่ง). -
หล้ง
แปลว่า : ลุ่ม นาลุ่มที่มีน้ำขัง เรียก นาหล้ง อย่างว่า เฮียมนี้เป็นดั่งนาไฮ่หล้งประสงค์หาแต่กล้าแก่ กล้าอ่อนมีบ่แพ้นาหล้งบ่ประสงค์ (ผญา) ให้เพียรหานาหล้งเป็นฝายน้ำส่ง (ขุนทึง) บ่ได้พาโลล้นดำนาหลายท่ง คึดต่อเจ้าต้งหล้งนาเฮื้อไฮ่เดียว นี้แล้ว (ผญา). -
หล้ง
แปลว่า : มัวเมา ลุ่มหลง อย่างว่า อย่าได้มัวเมาหล้งหลงไหลไฮ้ประโยชน์ ให้ต่อตั้งธรรมพระเจ้าสั่งสอน (บ.). -
หลงบุญ
แปลว่า : ลืมบุญที่ตนทำมา อย่างว่า คันห่าละคราบแล้วยาหลีกหลงบุญ แม่เอย ขอให้กำกันลงดั่งเดียว ปางนี้ ยามเมื่อแถนลอเต้าพลลงพร้อมห่วน วันนั้น ยังเล่าละคาบไว้ดูข้าพร่ำมูล (ฮุ่ง). -
หลงเมือง
แปลว่า : ลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง). -
หลด
แปลว่า : ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ตัวกลมๆ ปากแหลม เกิดตามหนองบึงหรือท้องนา เรียก ปลาหลด อย่างว่า พี่นี้แนวผู้ฮ้ายอ่างพ่างพุงกระทิ ปากแหลมคือปลาหลด อดหนาวบ่ได้ เห็นน้ำแต่อยากโตน (ผญา). -
หลด
แปลว่า : เคล็ด ขัด แพลง อาการที่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งมีแข้งหรือแขน เป็นต้น เคล็ดหรือแพลง เรียก แข้งหลด ขาหลด แขนหลด. -
หลบ
แปลว่า : หลบบนหลังคา ตอนอกไก่เรียก หลบ ไม้ขนาบเครื่องหลบ ๒ ชิ้น เรียก ไม้ข่มหลบ. -
หลบ
แปลว่า : กลับมา กลับคืนมา เรียก หลบ เช่นไปทำนาค่ำแล้วกลับมาบ้าน เรียก หลบมา อย่างว่า แสงแผดเพี้ยงฟ้าลั่นจักรวาล พลายหลวงหลบตื่นชวนเซล้ม บริวารล้มเนืองนองในป่า สารใหญ่น้อยโยมเจ้าหล่าหลง (สังข์) พังพลายหลบทอดงวงกลัวย้าน (กาไก) จักกล่าวเถิงนางอั้วน้อยหลบต่าวเมือเมือง ก่อนแล้ว (ขูลู). -
หลม
แปลว่า : หลวม ไม่แน่น คลอน เช่น เพลาเกวียนหลวม เรียก เพลาหลม อย่างว่า เกวียนหล้มเพราะเพลาหลม (ภาษิต).