ภาษาอีสานหมวด "ห" 431 - 440 จาก 1363
-
หล้อ
แปลว่า : ลักษณะของดวงตา ขณะที่เพ่งมองนัยน์ตาดำจะเคลื่อนไปมา เรียก ม้อหล้อ. -
หลอก
แปลว่า : ล้อ ทำให้ตกใจ ทำให้เข้าใจผิดสำคัญผิด อย่างว่า ผีสางฮ้ายผกจอบกินหวาน บ่ท่อคนเฮาหลอนหลอกกินกันแท้ (กลอน). -
หลอง
แปลว่า : บอก เรียน ทูล เช่น เมื่อมีเรื่องอะไรก็นำไป นำไปเรียน นำไปทูลให้ท่านรู้ เรียก หลอง เป็นธรรมเนียมของคนใช้นำไปใช้กับเจ้านายสมัยโบราณ เรียก ไปหลอง. -
หล้อง
แปลว่า : แอ่งน้ำลึก มีน้ำไหลวนตาไก่ เรียก หล้อง คนที่ลอยน้ำไม่เป็น ถ้าลอยไปตกหล้องนี้จะตายทันที. -
หลอน
แปลว่า : ผิ ถ้า ชะรอย อย่างว่า เมื่อนั้นน้อยนาฎต้านคำแสบสูญแสลง คันบ่ฟังเฮียมจักดุ่งเดินดอมเจ้า หลอนว่าโพยภัยฮ้ายเถิงอวนมอดมิ่ง น้องบ่มีชาติเชื้อเดียวข้อยชิอยู่เป็น นี้เด (สังข์). -
หลอน
แปลว่า : หลอก ทำให้ตกใจ ทำให้เข้าใจผิดสำคัญผิด อย่างว่า เมื่อนั้นพายนอบนิ้วทักพี่ขุนเจือง แองคอนเมือเกยขวางนั่งทูลพระยาอ้าย สูก็หลอนเอาได้หลายเมืองมาฮอด ดีรือ เขาว่าท้าวกว่าย้ายหมู่ช้างฮุมเจ้าสะแม่งวาย ว่าก็ (ฮุ่ง). -
หล่อน
แปลว่า : หลุด หล่น ฟันหลุด เรียก แข้วหล่อน ขวานหลุดจากป้อง เรียก ขวานหล่อน อย่างว่า ขวานหล่อนบ้องไปถืกท้องกวาง ฟานกินหมากขามป้อมไปคาคอมั่ง มั่งบ่ขี้สามมื้อกระต่ายตาย กระต่ายตายแล้วเหนอ้มเน่านำ (ปัญหา). -
หล้อน
แปลว่า : ต้นไม้ตายยืนเหลือแต่แก่น เรียก ไม้แก่นหล้อน ไม้จำพวกนี้ไม่งอกอีก อย่างว่า นึกว่าตอคะยูงแล้วแมวสีสังมาโค่น นึกว่าไม้แก่นหล้อนสังมาปลิ้นป่งใบ (ผญา). -
หล้อน
แปลว่า : ล่อน หลุด กะเทาะ เช่น กะเทาะเม็ดมะขาม เรียก หล้อนหมากขาม. -
หลอนแหลน
แปลว่า : บางครั้ง บางที บางคราว เรียก หลอนแหลน อย่างว่า ลางเทื่อเฮ็ดถืกข้อชิเห็นหน่อเงินคำ หลอนว่าบุญมีเฮาชิขี่เกวียนเทียมช้าง หลอนว่าหลอนแหลนได้คอนแลนชาเต่า ลางเทื่อเฮ็ดถืกข้อชิเห็นท้างปล่องมา (ย่า).