ภาษาอีสานหมวด "ห" 441 - 450 จาก 1363
-
หลอย
แปลว่า : แอบฉวยเอาไป เช่น ขโมยลอบลักเอาเสื้อผ้าหรือเงินทองในเมื่อเจ้าของเผลอ เรียก หลอยเอา. -
หล้อย
แปลว่า : คล่อง ไม่ฝืด เรือที่พายไปสะดวกไม่ติดขัด เรียก ม่อนหล้อย หล้อยหล้อยไป ก็ว่า. -
หละ
แปลว่า : ละ เป็นคำประกอบกิริยาบอกความแน่นอน เช่น ถืกหละ แม่นหละ เอาจั่งซั้นหละ แม่นความนั้นหละ. -
หลัก
แปลว่า : เสาที่ปักไว้ ที่ผูก ที่มั่น หลักสำหรับผูกควาย เรียก หลักควาย หลักสำหรับผูกวัว เรียก หลักงัว หลักปักเขตเรียก หลักเขต. -
หลัก
แปลว่า : ปกปิดเรื่องของตนไม่ให้คนอื่นรู้ อย่างว่า ดึ้กดัก หลักใน (บ.). -
หลัก
แปลว่า : ฉลาด หลักแหลม อย่างว่า คนหลักเป็นใบ้ ใจเบาคึดบ่ถืก (ปัสเสน). -
หลักแหล่ง
แปลว่า : ที่อยู่ประจำ. -
หลักแหลม
แปลว่า : คมคาย เฉียบแหลม. -
หลั่ง
แปลว่า : ไหลลงไม่ขาดสาย เช่น น้ำไหล เลือดไหล คนหลั่งไหลมา อย่างว่า ฟันภายข้างแขนขวาเขินขาด เลือดหลั่งล้นลงเท้าทั่วธรา (สังข์) มาปีกป้องสองท่างเพลงระบำ ลวาตาวตามหลั่งไหลหลังหน้า อึงคะนึงเค้านาหลวงไหลฮอด พ้นป่าเปล้าเห็นช้างชั่วประมาณ (สังข์). -
หลั่น
แปลว่า : สูงต่ำเป็นลำดับ เป็นชั้นๆ ลดหลั่นกัน อย่างว่า หยุดอยู่ยั้งเยี้ยมผ่อแคมผา ยางหลวงหลายหลั่นภูภายหน้า ฟังยินอุลูโกฮ้องเฮียงคณาเปล้าป่า งิ้วหนุ่นดั้วบานบ้างดาดแดง (สังข์) บัดนี้อวนกูข้ามเวหาหลายหลั่น มาโผดท้าวธรรม์อ้างแผ่นเพียง (สังข์).