ภาษาอีสานหมวด "ห" 631 - 640 จาก 1363

  • หื่นหอม
    แปลว่า : หอมตลบ อย่างว่า สะไย่พร้อมพลนอบมัสการ มาลาเลียนทอดทูลจอมเจ้า ฮองฮองหน้าฝูงศรีสาวถ่าว ประดับดอกไม้กวมเกล้าหื่นหอม (สังข์).
  • หื่นหื่น
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนจำพวกมากพูดกันเสียงดังหื่นหื่น อย่างว่า หื่นหื่นก้องเสเนศนางขุน ตีทวงทบท่าวแดดอมน้อย ฝูงเคยใช้ชุมแหนหัตถบาส เขาก็ละเครื่องแก้วนางน้อยพ่ายพัง (สังข์).
  • หือ
    แปลว่า : เป็นคำถาม เช่น ถามว่า เฮ็ดหยังหือ (ทำอะไรเหรอ) ไปไสหือ (ไปไหนเหรอ) มาแต่ใสหือ (มาแต่ไหนเหรอ).
  • หื่อ
    แปลว่า : เป็นคำปฏิเสธ เช่น ถามว่า ชิเฮ้ดบ่ หื่อ ชิกินบ่ หื่อ ชิไปบ่ หื่อ.
  • หื้อ
    แปลว่า : เป็นคำห้าม เช่น ถามว่า ชิเฮ็ดให้บ่ หื้อ บ่ให้เฮ็ด.
  • หุง
    แปลว่า : ตายด้วยอุปัทวเหตุเช่นตกต้นไม้ ควายชน ฟ้าผ่า ตกรถ ตกน้ำ ตกเรือ ตกเครื่องบิน เรียก ตายหุง ตายหูง ตายโหง ก็ว่า.
  • หุ่ง
    แปลว่า : มะละกอ มะละกอเรียก หมากหุ่ง เป็นพืชเศรษฐกิจเพราะคนอีสานชอบกินตำหมากหุ่ง ถ้าจะตำให้แซบนัวต้องใส่ปลาแดกต้วง ปลาแดกต้วง คือ ปลาแดกที่มีกลิ่นฉุน อย่างว่า อย่าลืมซุบหมากมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต้วงตำส้มหมากหุ่งเฮา (กลอน).
  • หุนลู
    แปลว่า : วู่วาม ทำโดยวู่วาม เรียก หุนลู หุนลูสหายยะ ก็ว่า อย่างว่า สังมาหุนลูแท้ไปเลยบ่อยากเบิ่ง (โส).
  • หุบ
    แปลว่า : ปิด หุ้ม ห่อ เช่น ปิดปาก เรียก หุบปาก ลดร่ม เรียก หุบฮ่ม อย่างว่า เชื้อชาติจ้องคันก่องกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชาตาขึ้นขวางคือขอนกะเลยล่อง บาดชิล้มหยุมหญ้าบ่ฟัง (กลอน).
  • หุม
    แปลว่า : เคารพ อย่างว่า คับคั่งพื้นหุมเจ้ายอดธรรม (กา).