ภาษาอีสานหมวด "ห" 641 - 650 จาก 1363

  • หุม
    แปลว่า : รัก อย่างว่า นงถ่าวง้อมงามเงื่อนอินทร์กอง คนิงบาไทอยู่สะเทินทวงข้อง ฮองฮองเหลื้อมรังสีใสส่อง พลพวกพ้องหุมเจ้าชื่นชม (ฮุ่ง).
  • หุ่ม
    แปลว่า : ดูถูก เหยียดหยาม การดูถูกเหยียดหยาม เรียก หุ่ม ห่มฮอ ก็ว่า อย่างว่า สังมาไลเมืองไว้สองเมืองเขาชิหุ่ม เฮาแล้ว (ขูลู).
  • หุ้ม
    แปลว่า : เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมสิ่งหนึ่ง เรียก หุ้ม เช่นเอาแผ่นเงินแผ่นทองหุ้มพระพุทธรูป หรือเอาแผ่นหนังหุ้มกลอง อย่างว่า ม้าแอบคุ้นคอสอดสะเนียนทอง นายนักการเขาแต่งดีดาเมี้ยน ปะคือคำตั้งเหนือหัวหอนนาค นายนั่งป้องยังหุ้มเครื่องคำ (สังข์).
  • หุมย้อง
    แปลว่า : ประดับตกแต่ง อย่างว่า ผ่อเห็นวันเฮื่อแจ้งเจียระพรากงายงาม พุ้นเยอ นางลุนเมือมุณเทียรสั่งสาวฝูงใช้ วันนี้เฮาจักเตินฝูงเชื้อประดับปุนไปม่วน ให้แต่งห้างหุมย้องซู่ซุม แด่เนอ (สังข์).
  • หุมห่อ
    แปลว่า : เคารพ นับถือ ยำเกรง อย่างว่า ทุกที่ข้าหุมห่อเฮียงยศ ยูสบายบานบ่าวสาวประสงค์หลิ้น ญิงชายฮู้เฮียงกลการย่อย โชคส่ำฮ้างฮามหม้ายหมู่สะเทิน (สังข์).
  • หุมหัว
    แปลว่า : ชื่นชม ยินดี อย่างว่า เมื่อนั้นภูชัยท้าวชมชื่นหุมหัว เฮาบ่ขีนบูฮาณแพ่งเลิงลือไว้ สูจ่งไปหาน้องนันทะพราหมณ์โดยฮีบ อย่าให้ข้องขีนไว้ปลูกไป ว่าเนอ (สังข์).
  • หุมแหน
    แปลว่า : ห้อมล้อม อย่างว่า คื่นคื่นข้าในนอกหุมแหน ผ่อเห็นรังสีใสฮุ่งจันทร์จวนแจ้ง อันว่าบุรมเจ้าทังสามกษัตริย์ใหญ่ ประดับไพร่พร้อมระวังชั้นนอกใน (สังข์).
  • หุ่ย
    แปลว่า : อ่อนเพลีย คนแก่ไปมาที่ไหนมักจะอ่อนเพลีย เสียงครางดังหุ่ยหุ่ย อย่างว่า สี่สิบปีไปไฮ่มาทอดขา ห้าสิบปีไปนามาทอดหุ่ย (ประเพณี).
  • หุ่ย
    แปลว่า : เสียงร้อง อย่างว่า ชาดชาดเข้าเถิงป่าอเร็งญา พลหลวงมวลเข้าไปเถิงห้วย สังคาเค้าเป็นลางอ้อยอิ่น ชะนีหุ่ยไม้ชมด้วยแค่ผา (ฮุ่ง).
  • หุ้ย
    แปลว่า : แสดงความฉงนหรือไม่เข้าใจ เช่น หุ้ยมึงเฮ้ดหยัง.