ภาษาอีสานหมวด "อ" 491 - 500 จาก 995
-
เอิง
แปลว่า : อ่างปั้นด้วยดินเหนียวเผาให้สุก ใช้สำหรับหมักข้าวสาร เรียก เอิง ฝาละเอิง ก็ว่า. -
เอิ่งเลิ่ง
แปลว่า : ลักษณะสิ่งของที่ลอยไปตามน้ำ ถ้าเล็ก เรียก เอิ่งเลิ่ง ถ้าใหญ่เรียก โอ่งโล่ง. -
เอิน
แปลว่า : ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาขนาดใหญ่เท่าปลาบึก เรียก ปลาเอิน มีอยู่ในแม่น้ำโขง. -
เอิน
แปลว่า : เรียก ร้อง การร้องเรียกโบราณเรียก เอิน อย่างว่า พวงจึงเอินเสียงให้ไขตูแวนด่วน ฝูงบ่าวเจ้าเมืองล้านลวดไข (ฮุ่ง). -
เอิม
แปลว่า : คอพอกเล็กน้อย เรียก คอเอิม ถ้าพอกมากเรียก คอโต้ คนคอเอิมและคนคอโต้นอกจากเป็นโรคเพราะขาดอาหารทะเล โบราณว่าคนพวกนี้ชอบยักยอกเอาของที่เขาฝากไปกิน ถ้ายักยอกเอาเพียงเล็กน้อยเป็นโรคคอเอิม ถ้ายักยอกเอามากเป็นโรคคอโต้. -
เอิมเยิม
แปลว่า : ค้างเติ่ง คนที่ทำงานไม่สำเร็จเช่น สานกระด้งหรือจ่อ ค้างไว้บนขื่อสองสามปี ก็ไม่เอาลงมาสานต่อ อย่างว่า เพิ่นบ่ขอโตซ้ำผัดให้ บาดได้แล้วค้างอยู่เอิมเยิม (กาพย์ปู่). -
เอียง
แปลว่า : ตะแคง ต่ำลงข้างหนึ่ง เฉเฉียง ตะวันที่ต่ำลงข้างหนึ่งเรียกตะวันเอียง อย่างว่า สุรภาเอียงอ่วยแลงลงไม้ (สังข์). -
เอี้ยง
แปลว่า : ชื่อนกจำพวกหนึ่ง สีดำ ปากเหลืองคล้ายนกแก้ว มีหลายชนิด เช่น นกเอี้ยงโม่ง นกเอี้ยงขี้ตาความย นกเอี้ยงหลอด นกเอี้ยงสาลิกา อย่างว่า ฝูงนี้เคยเลียบน้ำซอนซอกชานหนอง สูหากชุมชาวเดียวอย่าปองเป็นแพ้ กันเนอ ฝูงนั้นแกงกดเอี้ยงอำพาโพนโดก เปล้าป่าวไม้ลอลั้วบ่างบน (สังข์). -
เอียน
แปลว่า : เลี่ยน อาการที่มีรสมันและหวานกินลงไปมักจะคลื่นเหียนอาเจียน เรียก เอียน. -
เอี่ยนด่อน
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน.