ภาษาอีสานหมวด "ฮ" 71 - 80 จาก 661
-
ฮ้อยปลา
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือฮ้อยปลา. -
ฮ่อยฮ่อย
แปลว่า : เรียกอาการเจ็บปวดไม่มากแต่ไม่หาย นอนหลับตื่นขึ้นมาก็ยังปวด เรียก ปวดฮ่อยฮ่อย เจ็บฮ่อยฮ่อย ก็ว่า. -
ฮะ
แปลว่า : ระ กระทบ เดินกระทบกัน เรียก ย่างฮะกัน ลับมีดพร้า เรียก ฝนมีดฝนพร้า ฮะมีดฮะพร้า ก็ว่า อย่างว่า หีนบ่ฮองฮะให้แนวพร้าบ่ห่อนคมได้แล้ว (ภาษิต). -
ฮักแพง
แปลว่า : รักอย่างทนุถนอม เช่น เอาใจใส่ดูแลเรือดไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม รักเหมือนดวงตา เรียก ฮักแพง อย่างว่า พระก็ยกยอดแก้วไว้เกิ่งนครขวาง พระแพงเพียงพระเนตรเนาในหน้า ปุนสาวใช้คำออนเอื้อยมุ่ง สองพี่น้องประสงค์ตั้งปิ่นปัว (สังข์). -
ฮัด
แปลว่า : รัด ใช้มือโอบกอดไว้ เรียก ฮัด อย่างว่า นับแต่องค์แอ่วให้มันแม่มายมือ ดังนั้น มันบ่ยอมยังฮัดโฮบเอาพระองค์ไว้ ภูมีท้าวจอมใจฮีฮ่ำ มีใช่ขำขอดไว้เวรฮ้ายฮ่อใผ (สังข์). -
ฮาก
แปลว่า : 1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน. -
ฮาด
แปลว่า : ราด เทของเหลวๆ เช่น น้ำลงไปเรียก ฮาด เช่น ขี้ฮาด เยี่ยวฮาด อย่างว่า ตาบอดขี้ถืกปล่อง ตาดีขี้ฮาด (ภาษิต). -
ฮั้วซอง
แปลว่า : ไม้ง่ามที่ฝังไว้ที่รั้วแทนประตู คนเข้าได้แต่สัตว์เข้าไม่ได้ -
ฮ
แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรต่ำ ไม่มีใช้ในภาษาบาลีและสันสกฤต ในภาษาไทยกลางใช้ตัว ร. เป็นพื้น ส่วนภาษาอีสานส่วนมากใช้ตัว ฮ. แทนตัว ร. และที่ใช้ตัว ร. เหมือนภาษาไทยกลางก็มีเป็นส่วนน้อย. -
ฮง
แปลว่า : พัง ทะลาย อย่างว่า ฮ้อยขวบอย่าอนตาย นอนสองเฮียมฮ่วมห้อง มีญิงชายช้อนหน่อ น้ำต้องก็อย่าฮง (ฮุ่ง).