ภาษาอีสานหมวด "ช" 1 - 10 จาก 197
-
ชมชื่น
แปลว่า : พลอยยินดีด้วย -
ชาติเชื้อ
แปลว่า : ชาติเกิด -
ซัง
แปลว่า : เกลียด ชัง -
ชี้กา
แปลว่า : ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง มีผลกลม เลาสุกมีสีแดง รสขมจัด กาชอบกิน ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นหมากขี้กา. -
ชี้ไก่เดือน
แปลว่า : นกมูลไถ ชื่อนกชนิดหนึ่งชอบกินไส้เดือนเป็นอาหาร เรียก นกขี้ไก่เดือน นกขี้กะเดือน นกขี้กะดักกะเดือนก็ว่า. -
ชฎา
แปลว่า : ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้นเรียก ชฎา อย่างว่า ท่านหากจักเห็นยังอาศรมบทศาลาแห่งพระยาเวสสันตะระเจ้าตนวิเศษ อันธะรงเพศเป็นระสี มีมือถือขอเกาะเกี่ยวเหนี่ยวลูกไม้แลหัวมันในวนประเทศ ขอดเกษเกล้าเป็นชฎา (เวส). -
ชดช่วย
แปลว่า : ช่วยเหลือ การไปช่วยการงานญาติพี่น้องเช่น ไปช่วยเกี่ยวข้าว ไปช่วยดำนา ไปช่วยหาบข้าว เรียก ชดช่วย. -
ชน
แปลว่า : ต่อสู้กันด้วยเขาเรียก ชน เช่น วัวควายชนกัน ช้างชนกัน อย่างว่า เหมือนบ่ทันทานช้างแองกาท้าวกว่าแลซาม ดั่งนั้นรือ จักขีนถีบช้างชนแพ้เพื่อนพังได้นั้น (ฮุ่ง). -
ชบา
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ดอกมีสีต่างๆ เช่น สีแดงและสีขาว เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งเล็กกว่าเรียก ชบาหนู. -
ชมเกี้ยว
แปลว่า : พัวพัน การแสดงความพัวพัน เรียก ชมเกี้ยว อย่างว่า หอมตลบฟ้งเกษรชะช่อน ยูท่อนท้าวชมเกี้ยวกล่อมเกลียว (สังข์).