ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 2071 - 2080 จาก 2286

คำว่า ดาก
บางทีก็นำไปใช้ในการเปรียบเปรย เช่น "ดากหนิ จ้างกะบ่เชื่อ" แปลว่า "ตูดนี่ จ้างให้ก็ไม่เชื่อ"
คำว่า บักสีลา
บางทีแอดมินก็เคยได้ยินคนอีสานเรียก "บักพิลา" แล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆครับผม มีใครเคยได้ยินคำอื่นๆ สามารถแสดงความคิดเห็นได้เด้อ
คำว่า โพด
“พ่อใหญ่ดล.. เป็นจั่งได๋น้อ อยู่ทางนิวซีแลนด์ อากาศดีบ่?” “โฮ้... ดีอยู่.. แต่ว่าหนาวโพด... น้ำกะเย็นโพด เลยบ่อาบฮอดน้ำ... สิกินกาแฟฮ้อนๆ มันกะฮ้อนโพด เลยลวดลิ้นจ้อย.. ชงกาแฟกิน กะบ่แซบ ใส่น้ำตาลหลาย มันเลยหวานโพด... สรุปแล้ว มีแต่แนวโพดๆ ขนาดความหล่อของผู้เว้า กะยังหล่อโพด เด้เดียวเนี่ย...” คำแปล “พ่อเฒ่าดล.. เป็นอย่างไรบ้าง อยู่ทางนิวซีแลนด์ อากาศดีไหม?” “อือ... ก็ดีอยู่.. แต่ว่า หนาวเกินไป.. น้ำก็เย็นเกินไป เลยไม่อาบน้ำเลย... จะกินกาแฟร้อนๆ มันก็ร้อนเกินไป จึงลวกลิ้น.. ชงกาแฟกิน ก็ไม่อร่อย ใส่น้ำตาลมาก มันเลยหวานเกินไป... สรุปแล้ว มีแต่สิ่งเกินๆ แม้แต่ความหล่อของคนพูด ก็ยังหล่อเกินขนาด นะจะบอกให้...”
คำว่า โพด
เจ้าคือมาเว้าโพดแท้ ที่จริงข้าวโคดข่อย มันงามอยู่แต่มันบ่ได้งามโพด แปลว่า คุณก็พูดเกินไป ที่จริงแล้ว ข้าวโพดของผมมันก็เจริญเติบโตดี แต่ไม่ได้เจริญเกินไป
คำว่า ออนซอน
ออนซอนเขาหลาย กะไปอยู่นำเขาโลดเด้อ บ่ต้องมาให้เห็นหน้า แปลว่า ถ้าแคร์เขามาก ก็ไปอยู่กับเขาเลยนะ ไม่ต้องมาให้เห็นหน้า
คำว่า หัวหมาก
อย่ามาหัวหมากเด้อ กูฮู้ทันเด้อ แปลว่า ไม่ต้องมาทำเล่ห์เหลี่ยมเยอะ รู้ทันหมดแล้ว
คำว่า เสีย
เงินข่อยเสีย จักไผลัก แปลว่า เงินฉันหาย ไม่รู้ใครขโมย
คำว่า ดอน

หัวนาดอน = ปลายนาที่ดินสูง

คำว่า โม่ม

ยามมีปัญหากะบ่โม่มกูคือเก่า แปลว่า เวลามีปัญหาสุดท้ายก็ต้องมาให้กูช่วยเหมือนเดิม

ข้าวสารสิโม่มแล้งบ่ แปลว่า ข้าวสารที่เหลืออยู่จะมีมากพอที่จะพ้นฤดูแล้งไปหรือเปล่า

คำว่า หัวซา
ถ้าเค้าบ่หัวซาก็กลับบ้านเรานะหล้าเอ้ย แปลว่า ถ้าเขาไม่สนใจ ก็กลับมาอยู่บ้านเราเถอะน้องสาวเอ๋ย (หนูเอ๋ย) (ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูด พูดกับใคร)