ภาษาอีสานมาใหม่ 12521 - 12530 จาก 17431

  • ตอก
    แปลว่า : ตี ทุบ เช่น ตอกตะปู ตำบั้งไฟเรียก ตอกบั้งไฟ อย่างว่า เขาพากันตอกเต้าตำหมื้อถ่านสาม (ผาแดง).
  • ตอ
    แปลว่า : โคนไม้ที่ถูกตัดหรือหักลง เรียก ตอ อย่างว่า นึกว่าตอคะยูงแล้วแมวสีสังมาโค่น นึกว่าไม้แก่นหล้อนสังมาปลิ้นป่งใบ (ผญา).
  • ต้วยต้วย
    แปลว่า : ช้า เนิบๆ พูดช้าเรียก เว้าต้วยต้วย เดินเนิบๆ เรียก ย่างต้วยต้วย.
  • ต้วยซ้วย
    แปลว่า : หย่อนยาน สิ่งที่มีลักษณะหย่อนยานลงมาเรียก ยานต้วยซ้วย อย่างว่า นมมันยานต้วยซ้วย (เวส).
  • ตวยคำ
    แปลว่า : ขันหมาก ขันหมากเรียก ตวยคำ อย่างว่า สาวก็ยอตวยคำยื่นสลาถวายเจ้า (กา).
  • ต้วย
    แปลว่า : เช็ด ป้าย สัมผัส เอามือเช็ดขี้มูก เรียก เอามือต้วยขี้มูก เอามือป้ายแก้มเรียก เอามือต้วยแก้ม เอามือสัมผัสนมเรียก เอามือต้วยนม.
  • ตวย
    แปลว่า : ด้วย โดย ตาม อย่างว่า บาก็ตวยตามเข้าหอปรางค์ผาสาท (กา) เฮาจักตวยตามน้องเอากระบวนก้าวแกว่ง เมื่อนั้นท้าวถ่ายผ้าผืนเล้มแต่งตัว (สังข์).
  • ตวบซวบ
    แปลว่า : ใบกล้วยที่ถูกไฟไหม้หย่อนลู่ลงมา เรียก หย่อนตวบซวบ.
  • ต่วน
    แปลว่า : ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว เรียก ผ้าต่วน.
  • ตวดตวด
    แปลว่า : เจ็บปวดเป็นระยะเรียก เจ็บตวดตวด ควันโขมงเรียก ควันตวดตวด.