ภาษาอีสานมาใหม่ 12771 - 12780 จาก 17431

  • ดัง
    แปลว่า : จมูก จมูกเรียก ดัง จมูกเชิดหรือดังเหินเรียก ดังเบิด อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ช้างอย่างดังเบิดดังเหิน อย่าได้เสินเสินหัวแหย่งชิพานพาฮ้าย (ย่า) ลอนท่อปั้นเข้าจ้ำชิตำขึ้นถืกดัง (ขุนทึง).
  • ดัง
    แปลว่า : จมุก จมูกเรียก ดัง จมูกบี้เรียก ดังแหมบ จมูกบานหรือรูจมูกกว้างเรียก ดังปึ่ง จมูกโด่งจมูกใหญ่เรียก ดังโม จมุกแหว่งมากเรียก ดังวืก จมุกแหว่งขนาดกลางเรียก ดังวาก จมูกแหว่งนิดหน่อยเรียก ดังวีก.
  • ดัก
    แปลว่า : รูที่ตรงดิ่ง เรียก ฮูดัก ฮูชัน ก็ว่า รูที่ชอนขึ้นเรียก ฮูเนิน ฮูแปว ก็ว่า อย่างว่า ฮูเนินแมนฮูคัน ฮูชันแม่นฮูแข้ว (ปัญหา).
  • ดะ
    แปลว่า : ปะทะ กระทบ เช่น ต้นไม้ล้มกว่าจะลงถึงพื้นดิน จะกระทบกับต้นไม้หรือกิ่งไม้ เรียก ดะ อย่างว่า ไม้เอยไม้ล้มพาดง่า ดะพุ้นผั้นเดื่องลง (กลอน).
  • ดอย
    แปลว่า : ตั้งศพหันหัวไปทางทิศตะวันตกเรียก ดอยศพ อย่างว่า ใผจักอุ้มอ่วยเจ้าดอยให้แม่นทาง (เวส) ถ้าคนไม่ตายนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก ก็ถือว่านอนดอย คนโบราณห้ามถือว่าคะลำ.
  • ด้อมด้อม
    แปลว่า : อาการที่สัตว์ตัวเล็กๆ เดินก้มๆ เงยๆ เรียก ไต่ด้อมด้อม.
  • ด่อม
    แปลว่า : เคารพ อ่อนน้อม การแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนเรียก ด่อม อย่างว่า หมาเข้าบ้านให้ด่อมหาง (ภาษิต) วัวท้ายต่ำ เรียก งัวท้ายด่อม ช้างท้ายต่ำเรียก ช้างท้ายด่อม.
  • ดอม
    แปลว่า : ด้วย โดย ตาม ด้วยเรียก ดอม อย่างว่า โทเรคึดคั่งโดยดอมเจ้า (ฮุ่ง) โดยเรียก ดอม อย่างว่า เมื่อมันเข้าสู่บ้านเมืองมิ่งโดยดอม ดอยคนคือคู่ปุนปลาชิ้น (สังข์) ใผอย่าขันอาสาเลี้ยงงูสาไว้ดอมไก่ ย้านแต่ทุกข์บ่มั้วเข็ญฮ้ายเข้าสู่เฮือน (ภาษิต).
  • ด่อน
    แปลว่า : ขาว เผือก ควายเผือกเรียก ควายด่อน ช้างเผือก เรียก ช้างด่อน หัวขาวเรียก หัวด่อน อย่างว่า หัวดำไปก่อน หัวด่อนนำหลัง (ภาษิต).
  • ดอน
    แปลว่า : กระดอน เช่น ตีลูกคลี ลูกคลีสะท้อนกลับ เรียก ลูกคลีดอน.