ภาษาอีสานมาใหม่ 13261 - 13270 จาก 17431

  • ชะง้ำ
    แปลว่า : คว่ำลง เช่น คนคว่ำหน้าลง เรียก งุมหน้า ชะง้ำ ซ้ำง้ำ ก็ว่า.
  • ชะงาบ
    แปลว่า : อ้าปากงาบๆ เหมือนคนกำลังจะตาย เรียกว่า หันใจชะงาบ ชาบงาบ งาบงาบ ก็ว่า.
  • ชะง่อน
    แปลว่า : หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากภูเขา เรียก ชะง่อน ง่อน โง่น ก็ว่า.
  • ชะงอก
    แปลว่า : หินที่งอกออกไป เรียก ชะงอก งอก ก็ว่า.
  • ชะแควก
    แปลว่า : สวย งาม อย่างว่า ชะแควกเนื้ออั้วค่าประนมถวาย โฉมเฉลาชวนแม่เมืองธรรมเหง้า (ฮุ่ง).
  • ชะคาม
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ป่าชนิดหนึ่ง เรียก ต้นชะคาม ต้นเล็กเป็นพุ่ม กิ่งก้านและใบพองกลมเป็นฝอยปลายแหลม สีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู.
  • ชะค้อม
    แปลว่า : กองทัพ กองทัพเรียก ชะค้อม อย่างว่า เสียงกือก้องกะดิงทองทวนย่างนักเนื่องแส้ชะค้อมคืนสู่นครหลวง (ฮุ่ง) ชะพาดตั้งขันหมากทะไลคำ บาคราญเตินแต่งแคเพ็งน้ำ ลุงก็ยำแยงใช้สองนายเชิญช่วย เฮาจักปล้ำชะค้อมไปต้องต่อทาน (ฮุ่ง).
  • ชะควาก
    แปลว่า : ผิวบางร่างน้อย อย่างว่า ชะควากหน้าเมียกว่าสามพัน คีงบางงามส่ำบวนบานหน้า ฝูงนี้ชาวเดียงด้าวแดนประกันคงราช เจ้าลุ่มฟ้าพลอยได้ต่างแดน (ฮุ่ง).
  • ชะกัน
    แปลว่า : ห้าวหาญ แข็งแรง วัยแข็งแรง เรียก วัยชะกัน ฉกรรจ์ ก็ว่า อย่างว่า เฮาจักปุนฝูงท้าวแวนชะกันคนเคร่ง สองอ่อนผู้คีงค้อมเกื่อนแพง (ฮุ่ง).
  • ชะ
    แปลว่า : ชำระ ล้าง เช่น ฝนตกลงมาชำระความสกปรกรกรุงรัง เรียก ฝนชะล้าง.