ภาษาอีสานมาใหม่ 14664 - 14673 จาก 17431
-
เข้าหลาม
แปลว่า : ข้าวสารเหนียวใส่กระบอกไม้ไผ่อ่อน แช่น้ำไว้ชั่วระยะหนึ่ง เวลาจะเผาไฟเทน้ำออกใส่น้ำกะทิเข้าไปแล้วเผาไฟให้สุก เรียก เข้าหลามกะทิ ถ้าไม่ใส่กะทิเรียก เข้าหลามธรรมดา. -
เข้าหมาก
แปลว่า : ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว คลุกกับแป้ง (ส่าเหล้า) ห่อด้วยใบตองกล้วยเป็นหมกๆ เรียก เข้าหมาก. -
เข้าหม่า
แปลว่า : ข้าวหมัก ข้าวเหนียวที่หมักไว้เพื่อนึ่ง เรียก เข้าหม่า จะหม่าเพื่อทำขนมหรือนึ่ง ก็เรียก เข้าหม่า เหมือนกัน -
เข้าหนมหมก
แปลว่า : ขนมที่ใช้ใบกล้วยหมกเป็นห่อๆ เรียก เข้าหนมหมก เข้าหนมเทียน ก็ว่า -
เข้าหนมสาระวง
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่ง เคล้าน้ำอ้อยหรือน้ำตาล ทำเป็นแผ่นกลมๆ คลายกงเกวียน เรียก เข้าหนมสาระวง เข้าหนมสาระวงกงเกวียน ก็ว่า -
เข้าหนมถั่ว
แปลว่า : ขนมที่เคล้ากับถั่วดินหรือถั่วลิสง ผสมน้ำอ้อยหรือน้ำตาล เรียก เข้าหนมถั่ว เข้าหนมถั่วดิน ก็ว่า -
เข้าหนมแดกงา
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งเคล้ากับงาที่คั่วสุกแล้ว ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อย เรียก เข้าหนมแดกงา. -
กู่
แปลว่า : อาศรม, ศาลา, ปราสาทที่มียอดสูง อย่างว่า ทันที่คำเหลืองเหลื้อมพรายพรายแก้วกู่ที่นั้นท้าวยี่ผู้แพงล้านพ่อฮา หั้นแล้ว (ฮุ่ง) -
กุลา
แปลว่า : ทุ่งใหญ่ เรียกท่งกุลาฮ้องไห้ พยัคฆภูมิ ทุ่งปู่ป๋าหลานก็ว่า ที่เรียกพยัคฆภูมิน่าจะเป็นเพราะมีดงใหญ่ใกล้ทุ่งที่เต็มไปด้วยสัตว์ดุร้าย ที่เรียกท่งปู่ป๋าหลาน คงจะหมายเอาปู่กับหลานเดินข้ามทุ่งนี้ เมื่อปู่จะคอยหลานก็กลัวจะค่ำมืดเสียก่อน ต้องรีบเดินจึงทิ้งหลานไว้ -
กิน
แปลว่า : กินหมายถึงทั้งกินทั้งใช้สอย อย่างว่า กินของตัวเองทำให้คนอื่น เรียก กินข้าวโตโสความเพิ่น กินพร่ำเพรื่อ เรียก กินมำมำ กินไม่รู้จักแบ่งปัน เรียก กินผู้เดียวงูเขียวเกี้ยว กินไม่รู้จักอิ่ม เรียก กินได้ไส้ยาว กินข้าวไม่ใส่กับ เรียก กินในดอก กินดายดอก ก็ว่า