ภาษาอีสานมาใหม่ 9993 - 10002 จาก 17431

  • ฟั่ง
    แปลว่า : รีบ ด่วน ทำโดยอาการรีบด่วนเรียก ฟั่ง อย่างว่า กวาดไพร่เข้าเมืองใหญ่ในปะกัน แมนก็ถือพลายโดยกล่าวเอาเจืองเจ้า กูก็ถอยแฮงฟ้าวฉับพลันทังฟั่ง เจ้าหมื่นม้าวเมือแท่นนางเฟือ (ฮุ่ง) โทเรใจฟั่งมโนปานม้า (กาไก) บาคราญท้าวจานางทังฟั่ง (กา) ยังหิวไห้อาทรทังฟั่ง (สังข์).
  • ฟัง
    แปลว่า : ฟังเสียงด้วยหูเรียก ฟัง อย่างว่า ฟังยินสักกุณาเค้าเฮียงคอนป้อนเหยื่อ พุ้นเยอ (สังข์) ฟังคำสอนของพ่อแม่ของครูบาอาจารย์เรียก ฟัง ฟังคำสอนของเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชา เรียก ฟัง.
  • ฟัก
    แปลว่า : กกไข่ ไก่กกไข่เรียก ไก่ฟักไข่ สับปลาสับเนื้อให้ละเอียดเรียก ฟักลาบ.
  • ฟัก
    แปลว่า : ชื่อไม้เถาจำพวกหนึ่ง ใช้ผลเป็นผัก มีผลยาวสีเขียว เรียก หมากฟัก คู่กับหมากแฟง.
  • ฟะฟะ
    แปลว่า : อาการที่วัวควายบดเอื้องน้ำลายฟูมปากดังฟะฟะ หรือน้ำล้นคันนาเสียงดังฟะฟะ.
  • ฟะ
    แปลว่า : เมล็ดข้าวที่ลีบเกิดเพราะขาดน้ำ หรือต้นข้าวงามเกินไป เรียก เข้าฟะ.
  • ฟอย
    แปลว่า : ไม้กวาด ไม้กวาดสำหรับปัดกวาดทำความสะอาดอาคาร บ้านเรือนหรือสถานที่เรียก ฟอย ทำด้วยใบเป้ง ใบหวาย ก้านตาล ก้านพร้าว.
  • ฟ้อฟ้อ
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงงูเห่า เห่าดังฟ้อฟ้อ.
  • ฟ้อน
    แปลว่า : การแสดงอาการยกมือยกขากวัดแกว่งไปมาเรียก ฟ้อน ถ้าลำด้วยเรียก ฟ้อนลำ อย่างว่า ลำบ่ฟ้อนคือไข้บ่คราง คือนกยางหากินปลาค่อ (บ.) นางกะสิงประดับทอดแพนเฟือยฟ้อน (สังข์).
  • ฟ่อน
    แปลว่า : มัด กำ หญ้าหรือต้นข้าวจำนวนมากที่มารวมกันเป็นมัดหรือกำ เรียก ฟ่อน เช่นมัดข้าวเรียก ฟ่อนข้าว มัดหญ้าเรียก ฟ่อนหญ้า มัดฟางเรียก ฟ่อนเฟือง.