ค้นหา "ตำ" 71 - 80 จาก 210

  • ตะลาการ
    แปลว่า : ผู้ตัดสินคดีความ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายศาล ผู้ตัดสินคดีความ เรียก ตะลาการ ตุลาการ ก็ว่า.
  • ต่าว
    แปลว่า : ตำข้าวเปลือกครั้งที่ 2 เรียก ตำเข้าต่าว ต่าว ก็ว่า ปักดำครั้งที่ 2 แทนต้นข้าวที่ตายไป เรียก ดำนาต่าว ดำต่าว ก็ว่า.
  • ติ
    แปลว่า : ตำหนิ, ติเตียน, ทักท้วง, แกล้ง แกล้งพูดเรียก ติเว้า อย่างว่า ช่างมาติแถลงเว้า เอาเลามาปลูก บ่แม่นเชื้อลูกอ้อยกิน ได้กะบ่หวาน ช่างมาติแถลงเว้าตีจอนฟอนเสียดงูเห่า ตีแหลวเสียดไก่น้อย ปลาย่างชิตื่นแมว ช่างมาติแถลงล้มตมบ่มีกะติหมื่น (ภาษิต).
  • ตึ
    แปลว่า : กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่ง เช่นกลิ่นปลาแดกไม่เน่า แต่มีกลิ่น เรียก กลิ่นตึ ตึหลือ ก็ว่า ปลาแดกที่มีกลิ่นอย่างนี้โบราณเรียก ปลาแดกต้วง เหมาะสำหรับตำส้มหมากหุ่ง ถ้าใครไม่ได้กินก็อย่าพึ่งตาย กินแล้วอายุยืนด้วย.
  • เตียน
    แปลว่า : ติ ตำหนิ อย่างว่า บ่ได้ติเตียนเจ้ามีหรือจนบ่ได้ว่า เป็นข้าเพิ่นฮ้อยชั้นชินำซื้อไถ่เอาดอกนา (กลอน) อย่าได้ฟังความใผกล่าวเตียนตนน้อง (ฮุ่ง) นินทาเรียก เตียนขวัญ.
  • ทอ
    แปลว่า : ออ ประดัง ออหรือประดัง เรียก ทอ เช่น ปลามาทอที่หนเต้อน หน้าลี่ หน้าไซ อย่างว่า เห็นว่าปลาทอต้อนหมายซิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเจ้าฮ้งชิพายข้องปึ่งดัง (กลอน).
  • ท้าว
    แปลว่า : คำนำหน้าลุกเจ้านายหรือผู้มีตำแหน่งในทางปกครอง ว่า ท้าว เช่น ท้าวโพธิสาร ท้าวโพธิราช.
  • ที่
    แปลว่า : สถานที่ ตำแหน่ง แหล่ง แผ่นดิน อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์ต้านโลมนางเล้าลูบ ใผจักมาอยู่ยั้งแฝงเฝ้าที่ฮา นี้เด (สังข์).
  • เบือ
    แปลว่า : ข้าวสารเหนียวคั่วไฟให้เกรียมแล้วตำให้ละเอียด เรียก เข้าเบือ (ข้าวคั่ว) เข้าเบือนี้คล้ายผงชูรส ทำให้อาหารมีรสอร่อย เข้าเบือใส่แกงหน่อไม้อร่อยแซบนักแล.
  • เบือ
    แปลว่า : ไม้ตีพริกเรียก เบือ สากกะเบือ ก็ว่า สากกะเบือใช้ตำป่น ตำแจ่ว และตำสารพัดอย่าง.