ค้นหา "ตำ" 91 - 100 จาก 210
-
แป้ว
แปลว่า : ตำหนิเรียก แป้ว แผลที่หายแล้วแต่ยังมีรอยปรากฏขนาดเล็กเรียก แป้ว ขนาดใหญ่เรียก ป้าว เสียใจเรียก แป้วใจ อย่างว่า ก็หากเป็นบาดแป้วใจข้อยบ่ใส (ผาแดง) บาเฮงฮ้อนแป้วแปลบหึระทัย (กา). -
ผจญ
แปลว่า : ต่อสู้ ผจญ แผลงเป็นประจัญ ก็มี อย่างว่า อันนี้ฮอยที่พงศาเชื่อธรงฤทธีดั้นฮอด อีหลีแล้ว พี่หากฮู้ฮ่างข้อนางต้านตั้งแต่หลัง ว่าจักมาผจญแพ้เอาอวนคืนคิบ เมื่อนั้นนางกลาวชั้นตำขึ้นต่อผัว (สังข์). -
แผน
แปลว่า : แบบ อย่าง ตำรา เช่น แบบที่เขียนโดยจำลองจากพื้นที่จริง บอกภูมิประเทศและสิ่งของที่เกิดในที่นั้น เรียก แผนที่ แบบที่เขียนย่อหรือขยายของจริง เช่น เรือน ตึก เรียก แผนผัง. -
ฝ่าย
แปลว่า : ตำแหน่งปกครองของลาวสมัยโบราณเรียก ฝ่าย ปัจจุบันฝ่ายเท่ากับกำนัน ถ้าชื่อเดชก็เป็นฝ่ายชัยเดช ถ้าชื่อพิมพ์เป็นฝ่ายชัยพิมพ์. -
พระ
แปลว่า : ใช้แทนชื่อผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง เช่น พระราชา พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระมเหสี ใช้แทนชื่อผู้เป็นใหญ่ทางพระศาสนา เช่น พระสงฆ์องคเจ้า ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครองต่างๆ. -
พระยา
แปลว่า : ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ที่ยกย่องคนธรรมดา ซึ่งประพฤติดีปฏิบัติชอบให้เป็นพระยา เช่น พระยาโพธิสาร พระยาสุรเดช. -
พางาน
แปลว่า : แกล้งทำ อย่างว่า พาโลนี้พางานสอนยาก เป็นดั่งไม้ท่อนฮ้ายตีขี้ใส่โต (กลอน) เขาหากพางานแท้ตีเอาเป็นขนาด ตำตอกถ้อยดูล้นใช่ประมาณ (ฮุ่ง). -
พื้น
แปลว่า : ประวัติ ตำนาน นิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวพื้นท้าวใหญ่เจืองหาญ สมภารเพ็งไพร่พลยอย้อง ปางนั้นจอมเปืองสร้างสวนตาลเป็นใหญ่ เซ็งซ่าย้องเมืองท้าวซู่ซุม (ฮุ่ง). -
เพีย
แปลว่า : ตำแหน่งขุนนางของล้านนาและล้านช้าง เรียก เพีย คือ พญา เพียกว้านตำแหน่งช้าราชการหัวเมืองสมัยโบราณของชาวล้านช้างและล้านนา. -
เฟือนฟื้น
แปลว่า : กระเด็น อย่างว่า แสงตาวตำหมู่มารเฟือนฟื้น (กาไก).