ค้นหา "ตำ" 101 - 110 จาก 210

  • ภู
    แปลว่า : ภู โบราณมีชื่อหลายอย่าง เรียก ภู ตรงตัวก็มี อย่างว่า มีทังชาวคาเขียวขอบภูแผงม้า (สังข์) เรียก ภูคำ ก็มี อย่างว่า ผ่อเห็นสุรภาพ้นภูคำเค้าค่อน พุ้นเยอ ดีแก่ขุนไพร่พร้อมคณาน้ำเลิกลา (สังข์) เรียก ภูเฮี้ย ภูเขา ผา ผาหลวง เขา ดอย ก็มี ตำว่าภูนี้จะเรียกอย่างไรก็ตามโบราณก็หมายเอาภูเขานั้นเอง.
  • มุ่น
    แปลว่า : แหลก ละเอียด ตำจนแตกละเอียดเรียก มุ่น มุ่นมิน ก็ว่า อย่างว่า มันก็แข็งใจตั้งเขียวดวเดินฟั่ง สะดุดด่วนต้องผาม้างมุ่นมิน (สังข์).
  • ยัวะ
    แปลว่า : ตำหนักๆ เช่น ตำหมากส้มครกใหญ่ เรียก ยัวะหมากส้ม.
  • ยุบ
    แปลว่า : ทรุดลง ลดลง เช่น ยุบตำแหน่ง เป็นต้น.
  • เยาะ
    แปลว่า : ตำเบาๆ ตำหมากส้มครกน้อย ตำเบาๆ เรียก เยาะหมากส้ม.
  • และ
    แปลว่า : กับ ด้วย ของหลายอย่างเช่น ข้าวกับน้ำ เรียก ข้าวและน้ำ อย่างว่า เข้าและน้ำบ่ได้ต่าวตำตัก หลัวและฟืนบ่ได้ไปดงกว้าง ตัณฑุลาเข้าสาลีบ่มีเปลือก มีแต่เม็ดอ้อยซ้อยสองข้าง แค่ทาง (กาพย์).
  • โวโว
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนพูดโอ้อวด อย่างว่า ทางเส้นเค้าอย่าได้กวาดหนามปก อย่าได้เทียวทางฮกป่าดงเสือฮ้าย อย่าได้เหลือแต่ต้านโวโวพ้นเพื่อน เว้าบ่เป็นประโยชน์นี้ผีฮ้ายชิแล่นตำ (ย่า).
  • วน
    แปลว่า : รบดวน อย่างว่า ติแต่เป็ดไก่ฮ้ายเต้นตอดตำขา มันบ่เห็นของกินบ่แล่นวนนำก้น ติแต่งัวควายหม้นเฮียวหนามฮั้วไฮ่ มันบ่เห็นบ่อนได้บ่เวียนหม้นอยู่ดน (ย่า).
  • เอียดเหลียด
    แปลว่า : ตรง ไม่คด ไม่โกง คนที่ซื่อตรงไม่คดในข้องอในกระดูก เรียก ซื่อเอียดเหลียด หรือต้นไม้ที่ไม่คดหาที่ตำหนิไม่ได้ เรียก ต้นไม้ซื่อเอียดเหลียด.
  • ศึกษา
    แปลว่า : ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา (ป. สิกฺขา ส. ศิกฺษา) ผู้ชายอีสานเมื่อมีอายุพอที่จะบวชเป็นพระหรือเณรได้แล้ว พ่อแม่นำไปฝากในวัดให้บวชเรียน หนังสือที่เรียนเป็นหนังสือตัวลาวและตัวไทยน้อยที่จารในใบลาน จารึกศีลธรรมคำสอนจารีตประเพณี ตำรายา เวทมนต์คาถาและศิลปวิทยาต่างๆ ไว้ อย่างว่า บวชเฮียนศิกษ์หา (ภาษิต).