ค้นหา "ตำ" 121 - 130 จาก 210
-
โสก
แปลว่า : โฉลก คำประพันธ์ที่นักปราชญ์โบราณอีสานแต่งไว้ มีโสกสองถึงโสกแปด เป็นโสกที่แต่งไว้เพื่อให้หมอดูได้ดูโชคชะตาของคน สัตว์ สถานที่และสิ่งของ เป็นตำราหมอดูแบบสำเร็จรูป -
ไสยศาสตร์
แปลว่า : ตำราว่าด้วยเวทมนต์คาถา. -
หลุ
แปลว่า : ทะลุ เช่น ก้นตะกร้าทะลุเรียก ก้นกะต่าหลุ แท้งลูก เรียก หลุลูก หลูลูก ก็ว่า อย่างว่า เห็นว่าปลาทอต้อนหมายชิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเว้าฮ้งชิพายข้องปึ่งดัง (ผญา). -
หุ่ง
แปลว่า : มะละกอ มะละกอเรียก หมากหุ่ง เป็นพืชเศรษฐกิจเพราะคนอีสานชอบกินตำหมากหุ่ง ถ้าจะตำให้แซบนัวต้องใส่ปลาแดกต้วง ปลาแดกต้วง คือ ปลาแดกที่มีกลิ่นฉุน อย่างว่า อย่าลืมซุบหมากมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต้วงตำส้มหมากหุ่งเฮา (กลอน). -
หูฮาศาสตร์
แปลว่า : ตำราว่าด้วยวิชาการดูหมอ. -
แห
แปลว่า : หลบ หลีก กลัว คนทำความผิดมักจะหลบหน้าเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะตำรวจเพราะกลัวเขาจะจับกุมคุมขัง เหมือนหมาที่เป็นบาดแผลกลัวแมลงวัน อย่างว่า ควายบาดแหกา หมาบาดแหแมงวัน (ภาษิต). -
ไหปลาแดก
แปลว่า : ไหสำหรับใส่ปลาร้า เรียก ไหปลาแดก ที่เรียกชื่อปลาแดกเพราะเอาปลา เกลือและรำข้าวมาผสมเข้ากันแล้ว นำไปตำในครกมองให้แหลก เรียก ปลาแดก ปลาแหลก ก็ว่า บ้างก็ว่า เพราะการนำปลาที่ตำแล้วมายัดลงในไหที่ปากแคบ การยัดปลากดดันลงในไห เรียก ปลาแดก. -
ไหว้วาน
แปลว่า : ขอร้องให้ช่วยงาน เรียก ไหว้วาน ประเพณีอีสาน เวลามีความจำเป็นจะไปไหว้วานญาติพี่น้องให้มาช่วยงาน เช่น ปลูกเฮือน ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว หาบข้าว ตำข้าว และช่วยในงานการกุศลต่างๆ โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามธรรมเนียม. -
อบ
แปลว่า : อบ เอาของหอม เช่น ขมิ้น ว่าน แก่นจันทร์ แก่นคู้ รากตำยาน มารมเอาควัน เรียก อบ อย่างว่า มันก็อุปถากน้อยนานยิ่งวันคืน แสวงมาลาเลือกเอาอบเนื้อพอประมาณ แล้วนางทรงคัพวีกประสูติม้มท้องเป็นแก้วแก่นหญิง (สังข์). -
โอ่
แปลว่า : เป็นคำขึ้นต้นก่อนจะลำหรือเซิ้ง อย่างว่า โอ่เฮาโอ่พวกฟ้อนเฮาโอ่ มาฮอดนี้เถิงที่เฮือนใผ เฮือนผู้ใดหลังใหญ่อาดหลาด บ่ได้บาทหลานน้อยบ่หนี เจ้าผู้ทุกข์ทานมาอย่าหน เจ้าผู้จนทานมาอย่าขาด อย่าได้ขาดในเรื่องกินทาน ศิลแลทานแห่หลังบังหน้า พวกแม่ป้าเฮือนอื่นกะมี เป็นเศรษฐีบ่อยากทานพอเฟื้อง หรือชิเตื้องขึ้นฮอดสลึง ทานตำลึงให้เลาได้แปดบาท (กลอน).