ทำนาแบบไหนดีที่สุด วิธีการทำนาที่ดีที่สุด

การทำนา มันเป็นเอกลักษณ์ไปแล้วสำหรับคนภาคอีสาน ต้องบอกเลยว่าอาชีพที่รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวอีสานก็คือการทำเกษตรกร เกษตรกรแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปลูกมัน ปลูกข้าว ปลูกอ้อย หรืออะไรก็ตามแต่ ทุกอย่างล้วนเป็นการทำเกษตรทั้งสิ้น การเลี้ยงสัตว์ก็เช่นกัน แน่นอนว่าทุกคนสามารถทำนาได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำออกมาแล้วมันได้ผลผลิตดีจริงๆ

คนที่เป็นเกษตรกรบางคนก็ทำนาได้ผลผลิต แต่มันก็ไม่ได้ดีอย่างที่คิด เหตุผลที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าวิธีการทำมันมีหลายแบบ และเราเองก็ไม่รู้ว่า มันมีแบบไหนบ้าง ทำมาตั้งแต่โตจนแก่ก็ใช้แบบหว่านข้าวเอาอย่างเดียว มันอาจจะจริงอยู่ว่ามันได้ผลผลิตตามที่เราต้องการ แต่ผลผลิตนั้นน่ะมันดีหรือไม่ จริงๆแล้วการทำนาไม่ใช่เพียงแค่ลงหว่าน สูบน้ำ ใส่ปุ๋ย รอให้โต จริงๆแล้วมันไม่ได้ทำง่ายขนาดนั้น วิธีการทำนาที่ถูกต้อง รู้เพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้น

และวันนี้โอกาสดีสำหรับชาวนาเราทุกคน เว็บไซต์อีสานร้อยแปด จะมาเผยวิธีการทำนาแบบไหน ให้ได้กำไรสูงสุด แน่นอนว่าทุกคนสามารถปลูกข้าวให้มันโตได้ แต่เราจะทำอย่างไร ให้รายได้จากการที่เราขายข้าวของเรา มันมากขึ้นกว่าเดิม วิธีการทำก็ไม่ยากครับถ้าหากเป็นคนอีสานจริงยังไงก็ต้องทำได้อยู่แล้ว

การทำนานั้นมีหลายวิธี ทั้งการดำนา นาหยอด นาหว่าน หลายคนรู้จักแต่ก็ยังไม่ทราบว่ามันมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร นาดำ ทำได้ทั้งปี แต่ต้องเป็นเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ นาหยอด เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่เข้ามามีบทบาทสำหรับการทำน้ำมากขึ้น คุณภาพข้าวที่เราได้รับมาก็ไม่ต่างจากนาดำเท่าไหร่ เหมาะกับการพื้นที่นาปี ส่วนหน้าหวานคือ Standard คนอีสานแบบ 100% สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ต้องรอพึ่งฟ้าฝน เราจึงหวานข้าวเพื่อเอาปริมาณจำนวนข้าวไว้ก่อน แต่ถ้าหากถามว่าเราจะทำนาแบบไหนให้มันได้ผลผลิตดี ได้กำไรดีมากที่สุด หลายคนคงอยากจะรู้คำตอบ

เว็บไซต์ของเราได้ทำสถิติเก็บข้อมูลวิจัยมานาน เพื่อเอาการทำนายในรูปแบบต่างๆมาเปรียบเทียบ พบว่า การทำนาดำให้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือนายออด และนาหว่าน ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกับให้ผลผลิตที่น้อยที่สุด แต่ขณะเดียวกัน นาดำกับใช้ต้นทุนการผลิตที่สูง ส่วนนาหยอดใช้ต้นทุนน้อย เพราะฉะนั้นเราอยากจะแนะนำให้เกษตรกรทั้งหลายทำนาหยอด

และด้วยความที่เราทำข้าวหอมมะลิ ที่เป็นข้าวที่มีความต้องการของตลาดโลกในภาคอีสาน แต่ก็ยังไม่ยอมทำนาหวาน เมื่อปี 2558 จะได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาทำนาหยอด โดยเพิ่มราคาให้อีกตันละ 500 บาทมาจนถึงปัจจุบันนี้

นาดำ เป็นหน้าที่เราสามารถทำได้ทั้งปี ผลผลิตก็ให้สูงที่สุด เฉลี่ยมากกว่านายอ่อน 10% แต่การที่เราจะทำนาดำเราต้องอยู่ในพื้นที่ชลประทานและมีแหล่งน้ำใช้ตลอดทั้งปี แม้ว่าจะเป็นการทำนายที่ประหยัดค่ากำจัดวัชพืช เนื่องจากปล่อยน้ำเข้านา แต่อย่าลืมว่าถ้าหากเราทำนาแบบดำนา เราจะต้องเสียค่ารถดำนาไร่ละ 1,400 บาท และ ค่าสูบน้ำออกนาเฉลี่ยต้นทุนละ 3219 บาท เป็นต้นทุนที่สูงกว่าน้ายอด 28%

นาหยอด คล้ายกับการดำนา แต่ว่าทำแบบน้ำน้อย เพราะว่าทำในพื้นที่นาปี ผลผลิตจะน้อยกว่านาดำ แต่มากกว่านาหว่านเฉลี่ย 24 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนต่อไร่เฉลี่ยประมาณ 2575 บาท เป็นการทำนายที่ถูกที่สุดสำหรับทั้ง 3 ประเภท

การทำนาหยอดต้นข้าวจะเป็นระเบียบไม่ติดกัน ดูแลง่ายคุณภาพดี ต้นข้าวไม่ติดกันจึงไม่แย่งกันกินอาหาร ทำให้ข้าวแต่ละต้นได้รับธาตุอาหารเต็มที่เท่ากันทั้งหมด

นาข้าวแบบหว่าน ผลผลิตน้อยที่สุดเฉลี่ยไร่ละ 451 กิโลกรัม ต้นทุนจะมากกว่านายยอดเฉลี่ยถึง 19 เปอร์เซ็นต์ เพราะ เราจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเยอะมาก เฉลี่ยไร่ละ 25 ถึง 30 กิโลกรัม ถ้าหากคิดเป็นเงินก็ 650 บาท และรวมกับค่าดูแลรักษา ทั้งค่าปุ๋ย แมลงวัชพืช นาข้าวแบบหว่านต้นข้าวจะขึ้นไม่เป็นระเบีย บส่งผลให้เข้าไปดูแลยาก ข้าวแต่ละต้นแย่งอาหารกัน เมล็ดไม่สม่ำเสมอ คุณภาพข้าวจะไม่ค่อยเท่ากัน

ที่นี่เพื่อนๆก็พอจะทราบกันแล้วใช่ไหมครับ ว่า การทำนามันมีหลายแบบ แต่ละแบบต้นทุนและผลผลิตข้อแตกต่างกันออกไป เกษตรกรส่วนมาก ชอบทำนาแบบหว่าน การทำนาหว่าน ทำให้ผลผลิตของเราได้น้อย ต้นทุนก็สูง พอขายข้าวออกมา ราคาก็ไม่ได้สูง แต่ต้นทุนสูงกำไรมันก็ลดน้อยลงไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวช่วยให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำมากขึ้นนะครับ เลือกทำให้ถูกวิธี ถ้าหากเรื่องทำถูกวิธี ต้นทุนก็จะไม่สูง และผลผลิตก็จะได้เยอะด้วย

เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีมากมายเกี่ยวกับการเกษตร ทั้งวิธีการทำได้ถูกต้อง เครื่องทุ่นแรงต่างๆ ถ้าหากอยากจะทำนา ก็จะต้องศึกษาให้ดี ไม่เกี่ยวว่าท่านจะเคยทำงานมานานแค่ไหน แต่ถ้าหากหลังจากนี้ไปทำถูกวิธี ทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง กำไรสูงยิ่งขึ้น นับว่าเป็นเรื่องดีเลยนะครับ บทความนี้ก็คงต้องจบไปแต่เพียงเท่านี้ บทความหน้าเว็บไซต์อีสานร้อยแปด ของเราจะมาบอกข่าวเกี่ยวกับเรื่องอะไร ก็รอติดตามได้เลยที่เว็บไซต์ของเรา


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*