ภาษาอีสาน

  • 42 จือบ่
    จะจำไหม,จะเข็ดไหม,จะเข็ดหลาบไหม
  • 32 หน่อแตด
    น. คำด่า มักใช้แก่ผู้ชาย เช่น ไอ้หน่าหน่อแตด (โคราช)
  • 32 หมาน
    โชคดี,รวย ได้มาก
  • 30 บักกอก
    มะเหงก
  • 27 แมงง้องแง้ง
    ลูกน้ำ ชื่อแมงชนิดหนึ่งเกิดจากยุง เวลายุงไปไข่ในโอ่งน้ำจะออกเป็นตัว เรียก แมงง้องแง้ง อย่างว่า อี่เซกเลกอี่น้ำขอดแอ่ง พ่อแก่มึงไปกินมีแต่แมงง้องแง้ง ง้องแง้ง ง้องแง้ง (สอย).
  • 27 ย่าน
    กลัว
  • 26 หีเคียว
    แรด ร่าน ดอกทอง ใช้กับผู้หญิง
  • 26 จื่อ
    จำ,เข็ด จำ จำไว้ในใจเรียก จื่อ อย่างว่า คำหลักไว้โดยเดิมคดีโลก มิคาว่าอาวบ่ฮู้ฮมแจ้งจื่อลาง นั้นรือ (สังข์).
  • 25 อนอัว
    อึงอล พูดกันเสียงดังฟังไม่ได้ศัพท์ เรียก อนอัว.
  • 22 พอกะเทิน
    ไม่มากไม่น้อย ครึ่งๆกลางๆ
  • 22 จังบักสัง
    ไม่รู้ว่าเป็นอะไร , ไม่รู้เรื่องราวที่แน่ชัด , ไม่มีข้อมูล , ไม่ทราบว่าอะไร
  • 21 เป็นตาซัง
    น่ารักน่าชัง, น่าชังน่าหยิก
  • 21 พุ่นน่ะ
    เป็นคำอุทาน ความหมายประมาณว่า อันแหนะ ,  ว้าว , โอ้โห , ฮั่นแน่ หรืออีกความหมายหนึ่ง พุ่นหนะ = โน่นไง
  • 20 กะลา
    ดูกหัว กะโหลกหัว เรียก กะลา.
  • 19 ขี้กะตืก
    พยาธิ
  • 19 ขี้โผ้
    พุงโร คนที่มีแขนขาเล็ก แต่พุงโต เรียกคนขี้โผ้ อีกอย่างหนึ่งคนที่กินข้าวน้อยแต่กินกับมาก เรึยก คนกินโผ้ ขี้โผ้ ก็ว่า.
  • 19 บักฮูขี้
    ไอ้รูขี้ (เป็นคำด่า) บางครั้งอาจจะเขียนว่า บักฮูขี่ ก็ได้ (เพราะออกเสียงจริง ๆ ว่า บัก-ฮู-ขี่)
  • 19 แพ้แว้
    เปิดเผยจนมองเห็นได้ทุกแง่ทุกมุม เรียก แพ้แว้.
  • 19 ลูกเขยเฮ็ดสิตายบ่ท่อลูกชายนอนอยู่บ้าน
    ลูกเขยทำงานเกือบตาย แต่คนเป็นแม่ยายก็ไม่เห็นคุณค่า แต่กลับให้คุณค่าลูกชายตัวเองที่นอนอยู่บ้านเฉย ๆ  เป็นการเปรียบเทียบว่าคนไม่ใช่ทำอะไรก็ผิด หรือลำเอียงเห็นแก่คนในครอบครัวโดยไม่ได้ดูการกระทำว่าถูกหรือผิด
  • 19 เยา
    ต้นสบู่ ต้นสบู่เรียก ต้นเยา ต้นเยาเป็นไม้ขนาดเล็ก ไม่มีแก่น สูงประมาณหกศอก ผลเป็นพวง มีสองชนิดคือ เยาขาว เยาแดง ทั้งสองชนิดทำเป็นน้ำมันจุดโคมไฟและใช้เป็นน้ำมันเครื่องได้ดี ไม่ต้องผสมอย่างอื่น.
  • ภาษาอีสานทั้งหมด
    ดูคำศัพท์ภาษาอีสานทั้งหมดที่มีในพจนานุกรมภาษาอีสานออนไลน์ของเราได้ที่นี่

โครงการภาษาอีสานออนไลน์ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมคำศัพท์จากแหล่งความรู้ต่างๆมาเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลนำเสนอผ่านช่องทางเว็บไซต์อีสานร้อยแปด เข้าถึงได้ง่าย รองรับการแสดงผลทุกอุปกรณ์ และสมาชิกเว็บไซต์มีส่วนร่วมในการนำเสนอคำศัพท์ใหม่ๆ สอบถามข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวข้องได้

ภาษาอีสาน ที่น่าสนใจรวมไว้มากที่สุด ทั้งประโยคตัวอย่างการสนทนา

ความเป็นมา

ภาษาอีสานนับมาเป็นภาษาพูดที่มีผู้พูดมากเป็นภาษาที่มีความน่าสนใจมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานแต่ยังขาดแหล่งข้อมูลที่จัดทำในรูปแบบดิจิทัล จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่น่าสนใจ เช่น "ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" แต่ยังขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง บ่อยครั้งที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และแหล่งข้อมูลที่ยังไม่ได้นำเสนอแบบออนไลน์ เช่น "สารานุกรมภาษาอีสาน โดย ดร.ปรีชาพิณทอง" ทำให้การเข้าถึงทำได้อย่างจำกัด และนอกจากนี้ยังพบว่ามีคำศัพท์อื่นๆที่ไม่พบในแหล่งอ้างอิงทั้งสองแหล่งที่ได้กล่าวมา ทำให้มีแนวคิดจัดทำโครงการภาษาอีสานออนไลน์ขึ้นมา

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาอีสานจำนวนมาก กระแสของวัฒนธรรมอีสานได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา สังเกตได้จากสื่อโฆษณา ละคร ภาพยนต์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เว็บไซต์ โดยเฉพาะเพลงต่างๆ มีการนำเสนองานที่โด่งดังทุกสัปดาห์ เกิดคำถามจากผู้ที่ไม่เข้าใจในภาษาอีสาน เนื่องจากยังมีแหล่งให้ค้นหาข้อมูลไม่มากและข้อมูลไม่ทันสมัย จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้จัดทำโครงการฐานข้อมูลออนไลน์ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา และออกแบบให้ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมตั้งคำถามได้

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นอีสาน เป็นภาษาที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และความน่าสนใจ ทั้งยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและเล่าเรื่องราวในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน คำศัพท์หลายคำค่อย ๆ หายไปตามยุคสมัยจนหาฟังได้ยาก เหลือเพียงแค่คำศัพท์ที่ใช้กันบ่อย ๆ อยู่แค่ไม่กี่คำ เว้นแต่ว่าจะได้สนทนากับคนเฒ่าคนแก่จึงจะได้ยินคำเก่า ๆ เหล่านั้น ทีมงานอีสานร้อยแปดจึงได้พัฒนาเว็บแอพพลิเคชันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจในภาษา สุดท้ายนี้ทีมงานอีสานร้อยแปดขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะรักษาและเผยแพร่ภาษาอีสานให้เป็นที่รู้จักและอยู่คู่พี่น้องชาวอีสานตลอดไป

อย่าสิไลลืมถิ่มมูลมังแต่ครั้งเก่า อย่าสิลืมฮีตเค้าคนเฒ่าเพิ่นสั่งสอน
หลอนว่ากลายภายหน่าคะนิงหาสิได้จ่ม กลายไปไสบ่ม้ม สิคืนเค้าเก่าเดิม
ให้ซอยเสริมเติมแต้ม แนมหามาคืนคอบ แปลงระบอบแบบเปื้อง ให้เฮืองล้ำอย่าต่ำถอย

(ผญาโดย อ.ศรีสะท้าน)

ความหมายของคำว่า "อีสาน"

"อีสาน" ในความหมายที่เราเข้าใจคือชื่อที่ใช้เรียก พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี และ สันสฤต ในส่วนของรากศัพท์ที่มาจาก ภาษาสันสกฤต มาจากชื่อรัฐในสมัยโบราณชื่อ อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรมัน คนไทยจำนวนหนึ่งจึงมีความสับสนในการเขียนอีสาน บางทีเขียนอิสานหรืออิศาน อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าคำอีสานมีความเชื่อมโยงกับอิศวร อ่านบทความเกี่ยวกับความหมายของคำว่าอีสานได้ที่ ความหมายของคำว่า อีสาน

สอนภาษาอีสาน

ภาษาท้องถิ่นภาคอีสานกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และได้รับการยอมรับมากขึ้น จากที่สัมผัสได้ทางสื่อต่างๆ มีการนำเสนอรายการที่เป็นภาษาพูดอีสาน ด้วยความที่คนอีสานมีจำนวนมากเป็นทุนเดิม ประกอบกับการยอมรับ และคนอีสานมีความภาคภูมิใจที่เป็นคนอีสาน ไม่เหมือนเมื่อก่อนคนอีสานจะยังอายๆไม่กล้าพูดอีสานในที่สารธารณะ แต่ทุกวันนี้ไปเบิ่งโลดพี่น้อง ใครไม่พูดอีสาน หรือฟังอีสานไม่ออกถือว่าเชยมาก เพราะฉะนั้นเว็บไซต์อีสานร้อยแปดของเราแห่งนี้จึงเป็นสื่อกลางให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้ภาษาถิ่นอีสาน สามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลคำศัพท์ เพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆ หรือสอบถามในข้อสงสัยต่างๆ เรายินดีที่จะตอบคำถาม และสอนให้ สามารถกดติดตามได้หลายช่องทาง นอกจากเว็บไซต์แห่งนี้แล้ว ยังมีเฟสบุ๊กแฟนเพจ และ ช่องทางยูทูปให้กดติดตามอีกด้วย

ภาษาอีสาน - ภาษาไทยกลาง - ภาษาอังกฤษ

นอกจากภาษาอีสานที่เป็นภาษาพูดของคนอีสานทั่วๆไปที่แปลความหมายเป็นภาษากลางเพื่อให้ผู้อ่านที่อยู่ภาคอื่นๆได้ศึกษาและเข้าใจความหมาย เรายังมีการแปลความหมายเป็นภาษาอังกฤษไว้อีกด้วย ถึงแม้ว่าคำศัพท์บางคำอาจจะยังมีข้อมูลคำแปลในภาษาอังกฤษที่ไม่ครบถ้วน ทีมงานอีสานร้อยแปดก็จะทยอยรวบรวมและปรับปรุงฐานข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่ก็มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล สำหรับผู้ที่ศึกษาหาข้อมูลสามารถนำไปอ้างอิงในข้อมูลการสืบค้นได้ทันที

อัพเดทสถานะฐานข้อมูลภาษาอีสาน

อัพเดทฐานข้อมูลภาษาในระบบพจนานุกรมออนไลน์ของเว็บไซต์อีสานร้อยแปด ขณะนี้มีข้อมูลคำศัพท์เพิ่มเข้ามามากถึง 13,180 คำศัพท์ และมีประโยคสนทนาตัวอย่างอีกกว่า 1,857 ตัวอย่าง ทั้งที่มาจากทีมงานช่วยกันรวบรวมเพิ่มเข้ามา และจากสมาชิกที่ให้ความร่วมมือ แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆมาตลอด ที่สำคัญคือจากระบบผลการค้นหาของเรา เมื่อผู้เยี่ยมชมทำการค้นหาคำศัพท์ หากคำศัพท์ไหนยังไม่มีจะปรากฏในประวัติผลการค้นหา ทำให้ผู้ดูแลสามารถนำไปปรับปรุงข้อมูล ทำการเพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไป ส่งผลให้ฐานข้อมูลของเรามีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ทีมงานแอดมินก็ต้องขอขอบพระคุณสมาชิกเว็บไซต์ทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนมาเป็นอย่างดี

ฟีดภาษาถิ่น

เขียนโดย ทีมงานอีสานร้อยแปด อัพเดท