ภาษาอีสานทั้งหมด 10483 - 10492 จาก 17431

  • อ้อย
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นปล้องคล้ายอ้อและแขม ลำต้นชุ่มไปด้วยน้ำหวาน ใช้หีบเอาน้ำหวานทำน้ำตาลเรียก อ้อย มีหลายชนิด เช่น อ้อยตาแดง อ้อยพุง อ้อยดำ อย่างว่า พี่นี้ปลอดอ้อยช้อยเสมออ้อยกลางกอ กาบกะบ่ห่อหน่อยน้อยกะบ่ชอน ชู้กะบ่ช้อนเมียอ้ายกะบ่มี (ผญา).
  • อ๋อย
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงพูดแสดงความไม่พอใจในเมื่อได้ของเพียงนิดหน่อย พูดว่า อ๋อย สังมาให้กูหน้อยแท้.
  • อ้อยอิ่น
    แปลว่า : อ้อยอิ่ง เสียงพูด กระซิบเบาๆ ร้องเบาๆ อย่างว่า ฟังยินหัสดีหลิ้นชมเสียงอ้อยอิ่น (กา) ฟังยินสาขาช้อนสวานกันอ้อยอิ่น พุ้นเยอ จิบจาบจ้อยจอเล้มลูกซาง (สังข์) กุมพลต้านออยนางอ้อยอิ่น (กา).
  • อ้อยอิ่นออย
    แปลว่า : ไม่จืดจาง รักไม่จืดจาง เรียก นัวระอ้อยอิ่นออย อย่างว่า แม้งหนึ่งเถิงสถานกว้างนารีลิวลี่ ที่นั้นอินทร์ปลูกไว้ดวงส้มแก่สมณ์ ตาปะโสเหล้นหลายทางยูท่าง ฮักฮูปน้องนัวระอ้อยอิ่นออย (สังข์).
  • อ้อลำ
    แปลว่า : ชื่อมนต์ชนิดหนึ่ง คล้ายกับอ้อเทศน์และอ้อปล่อง เสกแล้วจดจำคำกลอนได้ดี ไปลำที่ไหนก็มีคนนิยมชมเชยว่าลำดี มีข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง การเรียนอ้อทุกอย่างมักจะมีคะลำ บางอย่างคะลำอาหารที่เป็นเดนสัตว์ คะลำไม่ให้กินอาหารที่เรือนคนตาย คะลำไม่ให้กินเศษของคน ถ้าปฏิบัติตามไม่ได้ก็มักจะเป็นปอบ ผู้เรียนอ้อจะต้องปฏิบัติให้ถูกตามครูบาอาจารย์สั่งทุกประการ มนต์นั้นจึงศักดิ์สิทธิ์และไม่เป็นภัยแก่ตัวเอง.
  • อ้อแอ้
    แปลว่า : เสียงเด็กที่เริ่มหัดพูด หรือเสียงพูดไม่ชัดอย่างเสียงคนเมาพูด.
  • อะเคื้อ
    แปลว่า : งาม หญิงที่มีรูปร่างงาม เรียก อะเคื้อ อย่างว่า เจ้ามะทีศรีอะเคื้อหน้าหนุ่มเนื้อใสงาม (เวส).
  • อะญะ
    แปลว่า : ลักษณะของสิ่งของที่กองไว้ไม่เป็นระเบียบ เรียก กองอะญะ.
  • อะลาง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบและต้นคล้ายต้นหางนกยูง แต่ลำต้นใหญ่กว่า ใช้เผาถ่านทำหมื้อบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน.
  • อะเลา
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบและต้นคล้ายต้นอะลาง แต่เล็กกว่า ใช้เผาถ่านทำหมื้อบั้งไฟเหมือนกัน.