ภาษาอีสานทั้งหมด 1197 - 1206 จาก 17431
-
หมอยารากไม้
แปลว่า : เป็นหมอที่ใช้วิธีการรักษาโรคด้วยสมุนไพร แร่ธาตุ และส่วนต่างๆ ของสัตว์ การกินยาสมุนไพรของชาวอิสานมีวิธีสกัดตัวยาออกมาจากสมุนไพรแบบง่ายๆ คือการฝนยา เป็นการนำสมุนไพรมาฝนหรือถูกับแผ่นหิน แผ่นเท่าฝ่ามือ เมื่อฝนแล้วก็เอาแผ่นหินนั้นจุ่มน้ำ ตัวยาที่ฝนออกจากละลายในน้ำเป็นน้ำยาที่สกัดออกมา สมุนไพรที่นำมาฝนประกอบด้วยรากไม้ แร่ธาตุหลายชนิด บางทีชาวบ้านเรียกว่า “ยาซุม” -
กระชัง
แปลว่า : เครื่องมือสำหรับขังปลา ทำด้วยไม้ไผ่เหลากลมๆ แล้วถักด้วยเชือกใช้ขังปลาในน้ำ เรียก กระชังขังปลา. -
กระชัง
แปลว่า : คุ, กระออม คุหรือกระออมที่ทำด้วยไม้ไผ่ สานเป็นรูปกลม ทาด้วยชัน ใช้ตักน้ำในบ่อ เรียก กระชัง คุ ก็ว่า อย่างว่า แม่ยังแม่กระซังก้นฮั่ว แม่ก้นตะกั่ว แม่ขนครัวลงล่าง แม่ย่างม้าเหาะ แม่เลาะขอนฮั้ว แม่กลั้วสงสาร (โสกผู้หญิง). -
กระชัง
แปลว่า : เกี่ยว เกี่ยวข้องเรียก กระชัง อย่างว่า เทื่อนี้นางหนุ่มไห้หาพ่อมารมัน ทังมารดาอยู่ลอนเลิงย้อย วันเมื่ออุทรพร้อมเทมารมันอ่อน วันนั้นมิคาสองกิ่งแก้ว กระชังกลิ้งเกี่ยวมาร แท้รือ (สังข์). -
กระช้า
แปลว่า : ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ สำหรับใส่ของไปขาย เรียก กระเช้า อย่างว่า จวงจันทน์คู้ของแพงทางเทศสะเภาพุ้น สังเอาไปเที่ยวห้อยหูกระช้าคว่าขาย (ปัสเสน) -
กระช้า
แปลว่า : ภาชนะขนาดกลาง สานด้วยไม้ไผ่ ตาห่าง สำหรับผู้หญิงใส่อาหารหาบไปจังหันหรือเพลพระสงฆ์ เรียก กระช้าจังหัน. -
กระช้า
แปลว่า : ภาชนะขนาดเล็ก สานด้วยไม้ไผ่ ตาถี่ สำหรับผู้หญิงใส่หลอดด้ายหรือหลอดไหม เก็บไว้ หรือนำไปในเวลาทอผ้าด้ายหรือผ้าไหม เรียก กระช้าหลอด. -
กระช้า
แปลว่า : ภาชนะชนิดเล็กๆ สานด้วยไม้ไผ่ ตาถี่ ใช้แทนแอบ สำหรับใส่ของเคี้ยวของสูบ ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ที่มาเยี่ยมยามถามข่าว หรือใช้สำหรับตนเอง เรียก กระช้าหมาก. -
กระเชอ
แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ มีรูปร่างคล้ายกระบุง ปากกว้าง ใช้สำหรับตวงข้าวเปลือกและข้าวสาร อีกอย่างหนึ่งเป็นกระเชอชนิดใหญ่วางบนเกวียน ใช้บรรทุกข้าวเปลือก เรียก กระเชอ กระโสบ กระโล้ กระโลง กาบโซ้ ก็ว่า. -
กระเช้า
แปลว่า : ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่เป็นรวง สำหรับเก็บสิ่งของมีเสื้อผ้าเป็นต้น ห้อยไว้ภายในเรือน.