ภาษาอีสานทั้งหมด 1201 - 1210 จาก 17431

  • กระช้า
    แปลว่า : ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ สำหรับใส่ของไปขาย เรียก กระเช้า อย่างว่า จวงจันทน์คู้ของแพงทางเทศสะเภาพุ้น สังเอาไปเที่ยวห้อยหูกระช้าคว่าขาย (ปัสเสน)
  • กระช้า
    แปลว่า : ภาชนะขนาดกลาง สานด้วยไม้ไผ่ ตาห่าง สำหรับผู้หญิงใส่อาหารหาบไปจังหันหรือเพลพระสงฆ์ เรียก กระช้าจังหัน.
  • กระช้า
    แปลว่า : ภาชนะขนาดเล็ก สานด้วยไม้ไผ่ ตาถี่ สำหรับผู้หญิงใส่หลอดด้ายหรือหลอดไหม เก็บไว้ หรือนำไปในเวลาทอผ้าด้ายหรือผ้าไหม เรียก กระช้าหลอด.
  • กระช้า
    แปลว่า : ภาชนะชนิดเล็กๆ สานด้วยไม้ไผ่ ตาถี่ ใช้แทนแอบ สำหรับใส่ของเคี้ยวของสูบ ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ที่มาเยี่ยมยามถามข่าว หรือใช้สำหรับตนเอง เรียก กระช้าหมาก.
  • กระเชอ
    แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ มีรูปร่างคล้ายกระบุง ปากกว้าง ใช้สำหรับตวงข้าวเปลือกและข้าวสาร อีกอย่างหนึ่งเป็นกระเชอชนิดใหญ่วางบนเกวียน ใช้บรรทุกข้าวเปลือก เรียก กระเชอ กระโสบ กระโล้ กระโลง กาบโซ้ ก็ว่า.
  • กระเช้า
    แปลว่า : ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่เป็นรวง สำหรับเก็บสิ่งของมีเสื้อผ้าเป็นต้น ห้อยไว้ภายในเรือน.
  • กระเช้า
    แปลว่า : ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ มีหูใช้เชือกเป็นสาย สำหรับหาบ หิ้ว หรือคอนใส่สิ่งของเวลาไปหาผลหมากรากไม้ในป่า อย่างว่า เสียมขุดมันคมปลอด กระเช้าน้อยสอดสบดี (เวส)
  • กระเชียง
    แปลว่า : กรรเชียง ไม้พายยาว สำหรับพายให้เรือเดิน เรียก กระเชียง ไม้แซวเฮือ ไม้แจวเฮือ ก็ว่า.
  • กระด้ง
    แปลว่า : ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบนขอบกลม ใช้สำหรับตากยา ตากสิ่งของต่างๆ บางทีใช้เป็นพาเข้าก็ได้.
  • กระด้ง
    แปลว่า : กระด้งฝัดข้าว สานด้วยติวไม้ไผ่ ทำให้มั่นคง ขนาดเท่ากระด้งธรรมดา ใช้สำหรับฝัดข้าว เรียก กระด้งฝัดข้าวอย่างว่า กระด้งฝัดเข้าเทียวเด้าแต่โมม สองมือโจมเทิงทิกเทิงฮ่อน ให้กูเด้าสาก่อนมันจั่งสิไค มันชิมีกำไรกว่าด้งกว่าด้ง (บ).