ภาษาอีสานทั้งหมด 1671 - 1680 จาก 17431

  • กะเตอะกะเติ่ง
    แปลว่า : อาการวิ่งกระโดดไปด้วยความยินดี เรียก กะเตอะกะเติ่ง อย่างว่า ทังหลายเพิ่นเทียวทางแป้นหาขัวแปลงใต่ โตสังมากะเตอะกะเติ่งเต้นโตนห้วยตลิ่งชัน (บ.)
  • กะเตอะกะเติ่น
    แปลว่า : อาการหัวเราะอย่างร่าเริง เสียงดังฟังชัด เรียก หัวกะเตอะกะเติ่น หัวเตอะหัวเติ่น ก็ว่า.
  • กะเตอะลอดช่อง
    แปลว่า : ชื่อภาชนะที่ทำด้วยสังกะสีเจาะเป็นรูกลมๆ สำหรับใส่ข้าวแป้งที่กวนแล้ว บีบลงน้ำร้อนทำเป็นลอดช่อง เรียก กะเตอะลอดช่อง.
  • กะเตา
    แปลว่า : ปลาแห้งที่อัดใส่กระบอกไม้ไผ่ทำด้วยปลาสร้อย ปลาหมากแปบ ปลาแตบ ก็ว่า เวลาจะกินจึงเอาออกมาปรุง เรียก ปลากะเตา อย่างว่า บุญเนาแค้นเข้าเหม้า ปลากะเตาแค้นบั้งไม้ไผ่ (บ.).
  • กะเตา
    แปลว่า : ร้อน (ส่วย).
  • กะเติก
    แปลว่า : เสียงร้องของไก่ตัวผู้ร้องเวลาตกใจ.
  • กะเติกกะเติก
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงไก่ตัวผู้ร้องในเวลาตกใจดัง กะเติกกะเติก.
  • กะเตี่ยว
    แปลว่า : ชายกระเบน หางกระเบน ได้แก่ชายผ้าที่ม้วนแล้วเหน็บไว้ข้างหลัง เรียก กะเตี่ยว อย่างว่า อย่าได้เป็นคนฮ้ายชายชะเลลากกะเตี่ยว (ย่า) ตองตอยผ้าผืนเดียวฮ้อยขาดเหน็บเตี่ยวพุ้นยังเตี่ยวพี้ เหมิดมื้อค่ำดาย (บ.).
  • กะแต
    แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าจำพวกใต่ไม้ ตัวขนาดกระรอกดำ ขนสองข้างมีสีขาวเป็นแซก เรียก กะแต อย่างว่า มอมเยืองไก้ หนูชิงกะแตต่าย (สังข์).
  • กะแตลอดขอน
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง มีหัว หัวใช้ทำยาได้ เรียก หัวกะแตลอดขอน หัวค้อนกะแต ก็ว่า.