ภาษาอีสานทั้งหมด 1791 - 1800 จาก 17431

  • กะย่า
    แปลว่า : ชื่อผักชนิดหนึ่ง เกิดตามป่า ลำต้นเล็กๆ มีหนาม สีแดงเรื่อ มีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวฉุน กินกับซุบหน่อไม้ดีนักแล เรียก ผักกะย่า ผักก้านย่า ผักกาดย่า ก็ว่า.
  • กะยือ
    แปลว่า : โรคหืด ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกี่ยวกับเศลษม์ เวลาเป็นหายใจไม่สะดวก เรียก โรคกะยือ คะยือ ขี้กะยือ ก็ว่า
  • กะยุมกะย้วย
    แปลว่า : การกินเลอะเทอะ มูมมามไม่สะอาด เรียก เฮ็ดกะยุมกะย้วย มะยุ้มมะย้วย ก็ว่า.
  • กะยุ้มกะแย้ม
    แปลว่า : การยิ้มโดยกระดากอาย เรียก กะยุ้มกะย้วย.
  • กะเยิม
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นตามสภาพหรือปล่อยไว้ตามสภาพของมัน เรียก กะเยิม อย่างว่า ไซใส่หลังหล้าบ่หมาน ถึงกะใส่ไว่บ่ถืกกะใส่ไว้ ตามแต่กะเยิมปลา (บ.).
  • กะแยง
    แปลว่า : ปลาแขยง ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง เกิดในน้ำจืด เรียก ปลากะแยง ขะแยง ก็ว่า อย่างว่ามีหมู่ซิวขาวเพี้ยกะแยงยอนกั้งโก่น ประดับเลียบล้อมวังหว้าหว่างหีน (สังข์).
  • กะแยง
    แปลว่า : ผักกระออม ชื่อผักชนิดหนึ่งเกิดตามท้องนาหรือที่ลุ่ม มีรสหอมฉุนเรียก ผักกะแยง ขะแยง ก็ว่า ใส่ต้มส้มกบจะให้รสชาดดีแท้.
  • กะโยม
    แปลว่า : ญาติโยม คนที่ไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรเรียก กะโยม หรือพระภิกษุ สามเณร เรียกชาวบ้านว่า กะโยม.
  • กะโยมวัด
    แปลว่า : ศิษย์วัดที่ไม่ได้บวชแต่อยู่อาศัยวัดและรับใช้พระเณร เรียก กะโยมวัด.
  • กะลกกะลน
    แปลว่า : ทำโดยรีบเร่งแต่ไม่เรียบร้อย เรียก กะลกกะลน.