ภาษาอีสานทั้งหมด 1991 - 2000 จาก 17431

  • กำ
    แปลว่า : ซี่ ซี่ล้อรถเรียก กำรถ ซี่ล้อเกวียนเรียก กำเกวียน.
  • กำ
    แปลว่า : หลอดไม้ซางสำหรับดูดเหล้าโทเรียก กำ.
  • กำ
    แปลว่า : ลักษณะนามบอกสิ่งของ เช่นข้าว หนึ่งกำ สองกำ สามกำ สี่กำ ห้ากำ.
  • กำ
    แปลว่า : งอนิ้วมือเข้าจดอุ้งมือ เรียก กำ กำ เต็มมือพอดี เรียก กำคัด กำเต็มมือแต่ไม่รอบ เรียก กำง้าง กำไม่หุ้ม ขาดอยู่ประมาณสองนิ้วมือ เรียก กำลา กำยะ ก็ว่า.
  • ก่ำ
    แปลว่า : ข้าวเหนียวดำ เข้าเหนียวดำเรียก เข้าก่ำ ข้าวชนิดนี้ทำข้าวต้มเรียก เข้าต้มก่ำ ทำขนมเรียก เข้าหนมก่ำ.
  • ก่ำ
    แปลว่า : ชื่อหนังสือวรรณคดีอีสานเรื่องหนึ่ง พรรณนาถึงพระโชติสัตว์ผู้มีบุญเกิดมามีร่างกายเหมือนกา เรียก ท้าวก่ำกาดำ.
  • ก่ำ
    แปลว่า : สีคล้ำ สีเมฆกำลังฝนจะตกเรียก เมฆก่ำ อย่างว่า ควันผายขึ้นเถิงพรหมเมฆก่ำ กิวฮ่อนฮ้องผันเยื้อนทั่วเมือง (ฮุ่ง).
  • ก่ำ
    แปลว่า : สีดำปนแดง เรียก สีก่ำ อย่างว่า เกิดหลายปีเห็นหีหลายส่ำ หีแหล้แหล้ก่ำก่ำน้อยใหญ่กะเห็น (ภาษิต).
  • ก้ำ
    แปลว่า : เบื้อง, ข้าง, ทิศ, ฝ่าย เช่นทิศข้างเหนือเรียก ก้ำเหนือ ข้างใต้เรียก ก้ำใต้ เบื้องตะวันออกเรียก ก้ำตะวันออก อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ช้างอย่าลืมหมู่งัวควายมันหากคูณคนทางต่างกันคนก้ำ ช้างหากดียามเข้าสงคราม ได้ขี่ ดีเมื่อเข้าเขตห้องนครกว้างอาจอง (ย่า).
  • กำเดา
    แปลว่า : ความร้อน อย่างว่า แล้วเลิกเมี้ยนถอยพรากพาหนี กำเดาขนังอยู่ทนทวงบ้า เป็นดั่งเภตราต้องผาโคมคุงหาดรือจักชักฮีบฮ้อนเอาได้ดั่งรือ นี้เด (สังข์).