ภาษาอีสานทั้งหมด 9161 - 9170 จาก 17431

  • สะนู
    แปลว่า : หุ่นรูปวัว หุ่นที่ปั้นด้วยขี้ผึ้งหรือหล่อด้วยทองเหลือง ใช้เป็นเครื่องป้องกันตัวและทำลายศัตรูคู่อาฆาต เมื่อหล่อหรือปั้นเสร็จแล้วก็ทำการปลุกเสกด้วยเวทมนต์ เวลาเกิดบ้านเมืองเดือดร้อนเพราะภูตผีปีศาจ หรือคนเป็นข้าศึกศัตรูกันก็ปล่อยวัวสะนูนี้ไปทำลาย งัวสะนูขี้ผึ้งสู้งัวสะนูทองไม่ได้ เพราะการสู้รบตบตีกันต้องใช้กำลังและความเข้มแข็ง.
  • สะแนง
    แปลว่า : เขาสัตว์ (ข.) เขาของสัตว์ทุกชนิด จะเป็นเขากวาง เขาฟาน เขามั่ง เขาโอ่ง โบราณเรียก สะเนง อย่างว่า โก่งเอยโก่ง โก่งสะเนงเขามั่งโก่งได้โก่งนวย โก่งเอยโก่ง โก่งสะเนงเขาควาย มันโชคกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).
  • สะเนียนทอง
    แปลว่า : กระดิงทองแขวนคอม้า คองัว เรียก สะเนียงทอง หิ่งห้อ ใช้เข็มขัดผูกคอม้า เวลาม้าวิ่งเสียงกระดิงจะดังไพเราะ อย่างว่า ม้าแอบคุ้นคอสอดสะเนียนทอง นายนักการเขาแต่งดีดาเมี้ยน ปะคือคำกั้งเหนือหัวหอนนาค นายนั่งป้องยังหุ้มเครื่องคำ (สังข์).
  • สะเนือน
    แปลว่า : สะเทือน หวั่นไหว สั่น อย่างว่า สะเนือนในห้องบาดาลชั้นต่ำ นาคอยู่น้ำลอยขึ้นคั่งบน (บ.).
  • เหนี่ยน
    แปลว่า : ชื่ออาหารโอชาของชาวอีสานชนิดหนึ่ง คือต้มมะเขือแล้วเอามาตำผสมปลาแดก หมากพริก ผักบั่ว หัวเทียม เรียก เหนี่ยนหมากเขือ แซบหลาย.
  • สะโน
    แปลว่า : โสน ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในน้ำ ดอกสีเหลือง มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับทำทุ่น (ป่อม) เบ็ด และป่อมข้อง ลอยได้ดี เรียก ต้นสะโน.
  • สะไน
    แปลว่า : เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง ทำด้วยเขาควายเจาะรูที่ปลายเขา ใส่ลิ้นเงินหรือลิ้นทอง สะไนนี้เสียงดังไพเราะและดังไกล พวกคล้องช้างใช้เป่าเวลากลับจากคล้องช้าง เพื่อเตือนให้ลูกเมียทราบ อีกอย่างหนึ่งใช้เป่าเวลาเทศกาลเทศน์บุญพระเวส ใช้แห่กัณฑ์เทศน์กันหลอนและแห่นาค.
  • สะบัดชัย
    แปลว่า : กลองสะบัดชัย กลองชนิดใหญ่และยาว ใช้ตีเสบเจ้าเมือง อย่างว่า ฟังยินคื่นคื่นก้องเสียงเสบสะบัดชัย พุ้นเยอ (สังข์).
  • สะบั้น
    แปลว่า : สั่นเพราะกลัว หนาวจนตัวสั่น อย่างว่า สะบั้นสั่นสายไปมา เหมือนดั่งเสนาตัวเหยี่ยววอด (เวส) คีงแพงกลั้วกุมภัณฑ์เกี้ยวกอด นางคั่งค้อยใจสะบั้นฮ่อผัว (สังข์).
  • สะบือ
    แปลว่า : สะดือ เรียก สะบือ สายบือ ก็ว่า อย่างว่า นางพ่องพร้อมไทถิ่นสวนสลา เขาก็ชวนกันไปใคร่หุมเห็นเจ้า ทรงกระจอนพร้อมกาสาผืนนุ่ง ผืนเพศพร้อมเขินหน้าก่อนสะบือ (ฮุ่ง).