ภาษาอีสานทั้งหมด 9677 - 9686 จาก 17431
-
หม
แปลว่า : สุก เช่น นึ่งข้าวนึ่งปลา เวลาข้าวปลาสุกทั่วกัน เรียก เข้าหม ปลาหม. -
หม
แปลว่า : กลัด ฝีหรือแผลกลัดหนอง เรียก ฝีหมหนอง แผลหมหนอง. -
ห่ม
แปลว่า : คุ้มครอง การคุ้มครองป้องปกเรียก ห่ม อย่างว่า เทื่อนี้บุญมาหุมห่มตูฝูงช้า (สังข์). -
หมก
แปลว่า : เรียกวิธีทำอาหารบางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เรียก หมก เช่น หมกปลา หมกกบ หมกเขียด หมกฮวก หมกปลาแดก หมกลาบ. -
หมก
แปลว่า : ซ่อนไว้ ปกไว้ ซุกไว้ เช่น ซุกไว้ใต้ดิน เรียก หมกดิน ซุกไว้ใต้โคลน เรียก หมกตม. -
หมกมุ่น
แปลว่า : ฝังใจมุ่งไปทางเดียว. -
หมด
แปลว่า : สิ้น ไม่มี ไม่เหลือ เช่น หมดลม หมดแล้ง หมดข้าว หมดปลา หมดนา หมดบ้าน. -
หมดบุญ
แปลว่า : ตาย. -
ห่มดอง
แปลว่า : เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่ง คือห่มเฉลียงบ่า ว่า ห่มดอง. -
หม่น
แปลว่า : สีมอๆ มัว ไม่หมดจด สิ่งที่ไม่หมดจด เรียก หม่น หม่นหมอง ก็ว่า อย่างว่า เป็นดั่งจันโทเศร้าเสียสีหมองหม่น เมฆหมอกเบื้องบังไว้บ่ส่องแสง (บ.).