ภาษาอีสานหมวด "ก" 1281 - 1290 จาก 1872

  • กุด
    แปลว่า : ขาด, ด้วน เช่น คนมือขาดเรียก มือกุด ขาขาดเรียก ขากุด แขนขาดเรียก แขนกุด.
  • กุด
    แปลว่า : ตัด เช่น ตัดคอเรียก กุดคอ ตัดแขนเรียก กุดแขน ตัดขาเรียก กุดขา.
  • กุดดุด
    แปลว่า : ต้นไม้ที่ตัดเหลือไว้นิดหน่อยเรียก สั้นกุดดุด.
  • กุดมุด
    แปลว่า : หมด, สิ้น ข้าวของเงินทองที่หามาได้ เก็บหอมรอบริบหยิบเอามาใช้จนหมดสิ้น เรียก กุดมุด.
  • กุทลี
    แปลว่า : กล้วย หญิงที่มีผิวพรรณขาวเหลืองโบราณเทียบดุจกล้วยบ่ม อย่างว่า เจ้าผู้คีงเหลืองล้ำกุทลีกล้วยบ่ม ขอแม่คีดยั่งเยื้อนยังข้อยค่อยคนิงแด่เนอ (สังข์).
  • กุทลีก
    แปลว่า : กล้วย อย่างว่า ที่นั้นมีหมู่กล้วยกุทลีกลำใย ชางแซวเฟืองฝ่าไฟคายค้อภูธรท้าวเสวยพลางพอชื่น เสด็จด่วนขึ้นเขาล้านล่วงไป (สังข์).
  • กุทเลส
    แปลว่า : กล้วย อย่างว่า กุทเลสกล้วยลำดั้วก่องเครือ เฟืองไฟส้มตาวตาลต้นต่ำมีหมู่ดวงดอกไม้บานบ้างแบ่งเครือ (กา).
  • กุ้น
    แปลว่า : สั้น มือที่ถูกตัดเกือบไม่เหลือเรียก มือกุ้น.
  • กุ้นดุ้น
    แปลว่า : มือที่ถูกตัดขาดไปโดยไม่เหลือ เรียก ขาดกุ้นดุ้น สิ่งใดที่ตัดขาดไปจนแทบไม่เหลือประโยชน์ก็เรียก ขาดกุ้นดุ้น.
  • กุบ
    แปลว่า : หมวก หมวกโบราณสานด้วยไม้ไผ่แบบตาเฉลวห่าง รองด้วยใบตองหนังใช้กันแดดกันฝน มีสองชนิด ชนิดเล็กและสั้นเรียก กุบก้อม ชนิดใหญ่เรียก กุบเกิ้ง.