ภาษาอีสานหมวด "ข" 321 - 330 จาก 970

  • ขาง
    แปลว่า : รอดสำหรับรับตง เรียก ขาง เช่น ขางเฮือน ขางซาน.
  • ขาง
    แปลว่า : ชื่อเหล็กชนิดหนึ่งไม่เป็นสนิมแข็งแต่เปราะ ถลุงจากแร่ที่ติดอยู่ตามหินกรวด กระทะที่ทำด้วยเหล็กขางเรียก หม้อขาง ผาลไถนาที่หล่อด้วยเหล็กขางเรียก หมากสบไถขาง.
  • ขาง
    แปลว่า : อัง เอาข้าวเกรียบมาอังไฟเรียก ขางเข้าเขียบ เอาปลาไปอังไฟ เรียก ขางปลา อย่างว่า มโนพี่เพี้ยงไฟเอ้าอ่มขาง (สังข์).
  • ข้าง
    แปลว่า : เบื้อง, ส่วน, ฝ่าย เช่น ฝ่ายหน้าเรียกข้างหน้า ฝ่ายในเรียก ข้างใน เบื้องซ้ายเรียกข้างซ้าย เบื้องขวาเรียกข้างขวา เวลาพระจันทร์สว่าง เรียก ข้างขึ้น เวลาพระจันทร์มืด เรียก ข้างแฮม ทิศเหนือเรียก ข้างปลายตีน ทิศใต้เรียก ข้างหัวนอน.
  • ขางบ้าน
    แปลว่า : แม่บ้านที่เอาใจใส่ในกิจบ้านการเรือน เรียก ขางบ้าน อย่างว่า ได้เมียผู้ดีคือสบไถขาง เมียเป็นนางผัวนุ่งผ้าไหม นาแฮ่งใหญ่กล้าซ้ำแฮ่งเหลือ (กาพย์ปู).
  • ขางเมือง
    แปลว่า : ทหารที่ใจกล้าเหมือนเหล็กขาง สามารถรบราข้าศึกได้ชัยชนะ เรียก ทหารขาง ขางเมือง ก็ว่า อย่างว่า ตัวหนึ่งง้าวถนิมแก้วมณีโชติใสแพรว ลือเมือเถิงสวรรค์กล่าวขานขอซ้อง ภูธรท้าวหมายไปปุนชอบให้แก่อ้ายผ่องผู้ใจกล้ากว่าขาง (ฮุ่ง).
  • ข้างหย้าง
    แปลว่า : คนใหญ่ผอมสูงยืนกั้นประตูเรียก ยืนข้างหย้าง คนที่เล็กเรียก แข้งแหย้ง.
  • ขาด
    แปลว่า : ทะลุ, ฉีก อย่างว่า เสื้อขาดหลังไปตาบกะหน่องไก่ เสื้อขาดไหล่ไปตาบกะหน่อลิง เสื้อขาดข้างไปด่างเขาควาย (กลอน).
  • ขาด
    แปลว่า : รั่ว, ไหล การเล่นการพนันทำให้เงินทองข้าวของรั่วไหลออก อย่างว่า อย่าได้มัวเมาเหล้นการพนันเบี้ยโบก ลางเทื่อโชคบ่ให้ ถงเป้งชิขาดกลาง (ย่า).
  • ขาด
    แปลว่า : แห้ง, งวด เช่น น้ำในแม่น้ำที่แห้งงวด เรียก ขาด อย่างว่า แม่นจักยิงแม่น้ำนองบ้าก็ขาดเขิน (สังข์).