ภาษาอีสานหมวด "ข" 331 - 340 จาก 970
-
ขาด
แปลว่า : อัตคัด, ขัดสน ไม่มีของซื้อขายเรียก ขาดตลาด ขายต่ำกว่าต้นทุนเรียก ขาดทุน ไม่มีญาติพี่น้องเรียก ขาดคน อย่างว่า บัดนี้หลานค่อยพากันเข้ามาเถิงถามข่าว ดีแล้ว เทื่อนี้ป้าหากไฮ้ฮามข้าขาดคน (สังข์). -
ขาดขวัญ
แปลว่า : ทุกข์ใจ อย่างว่า เทื่อนี้การพี่เพี้ยงเทียมท่อธรณี ยาว่าเฮี้ยมพาโลเลสสะหาวหาน้อง ดวงคมเพี้ยงพระกูแยงยังแว่น จิตพี่เฮฮ่อนดิ้น กระหายข้อนขาดขวัญ (สังข์). -
ขาดุ่ง
แปลว่า : ขาหยั่ง เอาไม้ไผ่เป็นลำ ยาวประมาณ ๔ ศอก มาทำเป็นขา ข้างละ ๒ ขา ใช้สำหรับหาบสิ่งของไปขายในที่ไกลๆ ถ้าต้องการวางที่ไหนก็วางลงได้ เรียก ไม้ขาดุ่ง. -
ขาโถกเถก
แปลว่า : ขาหย่าง ไม้สองอันมีเดือยสำหรับเหยียบ เป็นกีฬาโบราณชนิดหนึ่ง เด็กชอบเล่นวิ่งแข่งกัน เรียก เล่นหมากขาโถกเถก. -
ขาทวย
แปลว่า : ขาเล็กเรียว. -
ขาน
แปลว่า : กล่าว อย่างว่า แต่นั้นราชาท้าวขานขุนโดยฮีบ (สังข์). -
ขานกยาง
แปลว่า : ตรวน โซ่ชนิดหนึ่ง สำหับใส่ขาคนติดคุกติดตะราง เรียก โซ่ขานกยาง. -
ขานขอบ
แปลว่า : พูดตอบ อย่างว่า พอฟังแล้วนางงามขานขอบ อันว่าชวนพี่ไปหว้ายหว่างไม้ไปเฮ้าฮ่วมกระสัน (ฮุ่ง). -
ขานไข
แปลว่า : กล่าวชี้แจง อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าแย้มยิ่งขานไข (ผาแดง). -
ขานซอ
แปลว่า : ตีพิณพาทเป่าแคนขลุ่ยและสีซอพร้อมกัน เรียก ขานซอ อย่างว่า พิณพาทไค้แคนขลุ่ยขานซอ แตรสังข์สูรกล่อมพิณโพนโล้ (สังข์).