ภาษาอีสานหมวด "ข" 341 - 350 จาก 970
-
ข้านหล้าน
แปลว่า : ของกลมใหญ่มีสิ่งห่อหุ้มโผล่ออกมา เรียก ข้านหล้าน เช่น อวัยวะลับของชายที่ไม่มีหนังปกปิด อย่างว่า เสียกข้านหล้านได้บ้านได้เมือง เสียกแพ้แว้แพ้บ้านแพ้เมือง (ภาษิต). -
ข้าน้อย
แปลว่า : แทนชื่อผู้พูด เช่น ผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ ก็ใช้คำแทนชื่อตัวเองว่า ข้อย ข้าน้อย ข้อยน้อย ข้าผู้น้อย คำใดคำหนึ่งที่เหมาะสมแก่ฐานะของคนผู้ที่ตนพูดด้วย. -
ขาบ
แปลว่า : นกตะขาบ ชื่อนกชนิดหนึ่ง สีเขียว เรียก นกขาบ อย่างว่า จิบจาบจ้อยกะทาขุ้มขาบเขียว (สังข์) นกเขาเข้าแทนฮังนกขาบ หลาบท่อนี้แล้วคอยชู้ผู้บ่มา (ผญา). -
ขาบ
แปลว่า : สีน้ำเงินแก่คล้ายสีนกขาบ เรียกสีขาบ. -
ขาบ
แปลว่า : กราบ การประนมมือตั้งไว้ตรงหน้าอก แล้วยกมือทั้งสองขึ้น ให้หัวแม่มือจดคิ้ว แล้ววางมือทั้งสองข้างลงจดพื้นก้มลงให้หน้าผากจดพื้นเรียก ขาบ. -
ขาบหลอง
แปลว่า : กราบทูล การนำเรื่องราวต่างๆ ขึ้นร้องเรียนผู้ใหญ่ เรียก ขาบหลอง ขาบเฮียน ก็ว่า. -
ขาประชุม
แปลว่า : กรรมการหรือสมาชิกผู้มีสิทธิ์เข้าประชุม เรียก ขาประชุม. -
ขาม
แปลว่า : มะขาม ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ มี ๒ ชนิด มีดอกและผลไม้กินเป็นอาหารได้ ชนิดรสเปรี้ยว เรียก หมากขามส้ม ชนิดรสหวาน เรียก หมากขามหวาน อย่างว่า อดเจ้าลองชิส้มหมากขามขมขี้เฮี่ยเบิ่งเป็นหยัง ผ้าบ่ทันได้ฮื้อมันชิย้อยอาบขา (ผญา). -
ขาม
แปลว่า : คร้าม, เกรง, กลัว การเกรงกลัวฤทธาศักดาเดชหรืออำนาจวาสนา เรียก ขาม อย่างว่า เซ็งสีหราชท้าวทังโลกเขาขาม เขาก็มายโมหังกล่าวพรถวายถ้อย คบหนึ่งวันยวงขึ้นบัวระพาพ้นทีป เจ้าจักเจียระจากอ้ายพระองค์อ้วนสั่งลา (สังข์). -
ข่าม
แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงท่อนไม้ตกกระทบใบตองแห้ง เสียงดังข่าม.