ภาษาอีสานหมวด "ข" 411 - 420 จาก 970
-
ขี้ข้า
แปลว่า : ทาส -
ขี้ขาบ
แปลว่า : จะเข็บ, ตะเข็บ. -
ขี้เขิบ
แปลว่า : ดินโคลนตามหนองและทุ่งนาซึ่งแตกระแหง เรียก ขี้เขิบ ขี้เหิบ ก็ว่า. -
ขี้ควง
แปลว่า : รังของตัวแมลงชนิดหนึ่ง ในจำพวกชันโรง แต่ตัวโตกว่า ลักษณะแข็งเปราะ ใช้ทำใต้ได้ ตัวแมลงชนิดนี้เรียก แมงขี้ควง. -
ขี้คุย
แปลว่า : ทะนงตัวว่าสวยสดงดงามหรือเก่งกล้าสามารถอย่างนั้นอย่างนี้. -
ขี้งา
แปลว่า : ชื่อผ้าไหมชนิดหนึ่ง ใช้ไหมขาวกับไหมดำปนกัน เช่น เครือหูกเป็นไหมดำไหมที่ทอเป็นไหมขาว เมื่อสำเร็จแล้วจะเป็นสีขี้งาคือสีขาวกับสีดำปนกัน. -
ขี้เจีย
แปลว่า : ดินประสิว เรียก ขี้เจีย เหตุที่ได้ชื่อว่า ขี้เจีย เพราะผู้ทำขี้เจียนี้เขาเอาขี้เจีย คือขี้ค้างคาวมาต้มเกลือสินเธาว์ จึงเรียกชื่อว่าขี้เจีย เขาเอาขี้เจียมาทำเป็นบั้งไฟพลุบั้งไฟตะไล บั้งไฟโบด บั้งไฟจินาย บั้งไฟอีตื้อ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน. -
ขี้เจียม
แปลว่า : จิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์). -
ขี้ช้าง
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นขี้ช้าง. -
ขี้ชี
แปลว่า : ชัน ชันเรียก ขี้ชี ยางไม้จิกไม้ฮังที่ห้อยแขวนอยู่ตามต้นหรือกิ่ง เรียก ขี้ชี เอายางนี้มาป่นให้ละเอียดผสมน้ำมันยาง ทาคุ ทาอุแอ่งที่แตก ทาเรือที่แตกหรือรั่ว.