ภาษาอีสานหมวด "ค" 191 - 200 จาก 975

  • คลั่งคล้อย
    แปลว่า : อึดอัดใจ อย่างว่า เมื่อนั้นนางคั่งค้อยชลให้หอดหิว คึดคั่งค้อยนำน้องเมื่อยมโน (สังข์).
  • คลั่งเค้า
    แปลว่า : คับคั่ง, เต็ม อย่างว่า ฟังยินเภรีก้องระงมเสียงดังสนั่น ช้างคั่งเค้าดาห้างเครื่องคำ (สังข์).
  • คลั่งเคือง
    แปลว่า : ข้องใจ, ขัดใจ อย่างว่า เจ้าก็เป็นคนแท้แดนใดเดินฮอดเฮานี้ มีประโยชน์ด้วยใดฮ้อนคั่งเคือง เจ้าเอย(สังข์).
  • คลั่งแค้น
    แปลว่า : คับใจ, แค้นใจ อย่างว่า เสนาป้องเทพีธะรงแท่น นางคลั่งแค้นหิวไห้ฮุ่งผัว(สังข์).
  • คลา
    แปลว่า : เคลื่อน, ย้าย เดือนดาวที่ย้ายจากที่ไปสู่ที่อื่น เรียก คลา คา ก็ว่า อย่างว่า รุกขาไม้ลมพานค้อมควี่ เดือนด่วนค้ายคลาข้อนขอบเสมร (สังข์).
  • คล้า
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นและใบคล้ายลำข่า ผิวเปลือกคล้ายหวาย ใช้สานทำกระสอบบรรจุข้าวเปลือก หรือทำสาดปูนอนก็ได้ เรียก ลำคล้า อย่างว่า เชื้อสาดคล้าอย่าได้เอาปูเฮือน คนตาเบือนอย่าเอาเป็นเพื่อนพ้อง มันชิเป็นล้องค้องคือเกี่ยวสองคม (กาพย์ปู่).
  • คลาข้อน
    แปลว่า : ต่ำลง คล้อยลง อย่างว่า เขาก็หวังสุขย้อนบาบุญบุตราช คบหนึ่งวันวิ่งค้ายคลาข้อนขอบเสมร (สังข์).
  • คลาคล้อย
    แปลว่า : พราก จาก อย่างว่า ผ่อเห็นวันเฮื่อเข้มไขทีปบัวระพา พุ้นเยอ ฉายายลล่วงลงคลาคล้อย ฟังยินลมทวยไค้จวงทองดังมี่ เมื่อนั้นหกพี่น้องเนาฮ้ายฮ่ำคราญ (สังข์).
  • คลาด
    แปลว่า : พลาด ผิด อย่างว่า ความตายนี้เถิงมันมีคลาด (สังข์).
  • คลาดแคล้ว
    แปลว่า : พลาดหวัง ผิดพลาด รอดไป พ้นไป อย่างว่า มีคลาดแคล้วโดยดั่งพระองค์ฝัน เมื่อนั้นภูมีชมชื่นใจจาต้าน หมอจงกิตตนาแท้ทวายดูตามเลข นางอยู่ห้องมีล้นคั่งคาม (สังข์).