ภาษาอีสานหมวด "ค" 171 - 180 จาก 975

  • ครื่นครื่น
    แปลว่า : เสียงคนเดิน อย่างว่า พลถือก้ามเต็มนานองเครื่อง คื่นคื่นเข้าเชียงล้านเมื่อแลง (สังข์).
  • ครื่นครื่น
    แปลว่า : เสียงนางกินรีบิน อย่างว่า คื่นคื่นเค้าบินเวิ่นเวหา ทังปวงแยงยาดกันดูน้อย เมื่อนั้นนูเนือท้าวบาศรีโฉมฮาบคอยผ่อน้องทังค้ายใคร่กระสัน (สังข์).
  • ครื่นเคร็ง
    แปลว่า : เสียงฟ้าร้องเรียก ครื่นเคร็ง คื่นเค็ง ก็ว่า อย่างว่า ผ่อดูวันสูรย์ซ้ายเมโฆเค้าฮ่ม พุ้นเยอ ฟ้าหลั่งเหลื้อมเสียงก้องคื่นเค็ง (สังข์).
  • ครื่นเคร็ง
    แปลว่า : เสียงไม้ค้อนกระทบกัน อย่างว่า เค็งเค็งเสื้อแสวงยิงยียาด ค้อนแกว่งเปลื้องตีต้องคื่นเค็ง (สังข์).
  • ครื่นเคร็ง
    แปลว่า : เสียงไม้ล้มทับกัน อย่างว่า เขาแปร่ม้างดงไม้คื่นเค็ง (กา).
  • ครุ
    แปลว่า : ถังตักน้ำ ถังตักน้ำที่สานด้วยไม้ไผ่ ทาชันผสมน้ำมันยาง เรียก คุ ทำด้วยไม้ไผ่เรียก คุไม้ไผ่ ทำด้วยสังกะสีเรียก คุสังกะสี.
  • ครุฑ
    แปลว่า : พระยานกเรียก ครุฑ อย่างว่า จักว่าเป็นชาติเชื้อนาถนากแนวเดียว นี้รือ ฮู้ว่าเนาในมนุษย์โลกคนนครกว้าง ฮู้ว่าแกมพงศ์เชื้อนาโคครุฑนาค ไลพี่ไว้ดายดิ้นดั่นเดียว นี้รือ (สังข์).
  • ครุฑราชราเช็ง
    แปลว่า : พระยาครุฑ อย่างว่า แยงที่ท้าวครุฑราชราเช็ง ภูมีเห็นฮ่ำไฮคนิงน้อย กษัตราเจ้าดาพลแล้วล่วง พระยาครุฑเหลื้อมไหลมั้วมืดมน (สังข์).
  • ครุย
    แปลว่า : ครีบหลังของปลา เรียก ครุยปลา อย่างว่า ให้ช่างบ้อนเสมอดั่งปลาบึก อย่าได้แปลงครุยลอยดั่งปลาซิวอ้าว (อิน) มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).
  • ครุวนา
    แปลว่า : ดุจ เปรียบเหมือน สิ่งที่คล้ายคลึงกัน นำมาเปรียบเทียบกันเรียก ครุวนา อย่างว่า พาโลนี้พางานสอนยาก เป็นดั่งไม้ท่อนฮ้ายตีขี้ใส่โต (ภาษิต) โลโภโทโสโมโหนี้คือไฟเผาแผ่น คันมันลุกลวกไหม้ดินฟ้าบ่ยัง (กลอน).