ภาษาอีสานหมวด "ค" 231 - 240 จาก 975

  • ความ
    แปลว่า : คำพูด คำที่พูดออกมาแต่ละคำเรียก ความ อย่างว่า เป็นดั่งไทกะเลิงหล้างบายหลาแถลงแขก เหมิดคืนได้ถ่องล้อจาเว้าแต่ละความ (บ.) คันว่าความเฮาเว้าขมในอย่าฟ้าวจ่มลางเทื่อขมขี้เพี้ย ภายหน้าหากซิดี (ย่า).
  • คว่ำ
    แปลว่า : การทำโทษคฤหัสถ์ผู้ทำผิดต่อพระวินัยสงฆ์ จะถูกลงโทษไม่ให้ทำบุญทำทานในวัดนั้น แม้ลูกจะมีอายุครบบวชก็ไม่ให้บวชในวัดนั้น เรียก คว่ำบาตร เมื่อคฤหัสถ์นั้นรู้สึกตัวขอขมาโทษต่อพระสงฆ์ พระสงฆ์ยกโทษให้เรียก หงายบาตร.
  • คว่ำ
    แปลว่า : เจ้าเมืองตายเรียก เมืองคว่ำ อย่างว่า บัดนี้เสียแก่นต้น เสมอคว่ำขอบเมืองแลนอ (สังข์).
  • คว่ำ
    แปลว่า : ก้มหน้าลง มองต่ำ มองลงข้างล่าง เรียก คว่ำหน้า อย่างว่า นอนคว่ำให้เบิ่งเชือกควาย นอนหงายให้เบิ่งไพรหญ้า (ภาษิต) เหมือนดั่งฟ้ากระเดื่องคว่ำ ดินปลิ้นพลิกหงาย (สังข์).
  • ควี่
    แปลว่า : คลี่ บาน ผลิ ดอกไม้บานเรียก ดอกไม้ควี่ อย่างว่า หลิงดอกไม้มายควี่คันธา ภูธรเลาะเลียบพะนอมนำน้อง (สังข์).
  • ควี่
    แปลว่า : สยาย ผมที่ขอดไว้ แล้วคลี่ออกเรียก เกล้าคลี่ อย่างว่า ลางคนข้องพวงหนามเกล้าควี่ก็มี ลางพ่องซิ่นเขินเนื้อนั่งเปลือย (ฮุ่ง).
  • ควี่วรรณ
    แปลว่า : สดใส อย่างว่า ป่าวเพื่อนพร้อมฝูงนาคนาคี ยนยนยอยอยคำจ่ายแหวนขายแก้ว ราชควงตั้งเวสณฑ์ผาสาท ฝาต่อแก้วเฮืองเข้มควี่วรรณ (สังข์).
  • คหัฐ
    แปลว่า : คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน ผู้ครองเรือนมีลูกมีเมียเรียก คหัฐ อย่างว่า ลอนบ่เป็นประโยชน์แท้ผิดฮ่อมอวิสัย ควรกูไลนครเสียบวชสมณ์แสวงดั้น ผิจักเป็นคหัฐฮู้มีโพยพันเยื่อง เยียวจักแค้นคั่งไหม้หมองต้องตื่นมา (สังข์).
  • คอ
    แปลว่า : ส่วนแห่งร่างกายที่ต่อลำตัวเข้ากับศรีษะ เรียก คอ คนที่มีรสนิยมตรงกัน มีความรู้สึกนึกคิดเป็นอันเดียวกันเรียก คอเดียวกัน คอพอกน้อย เรียก คอเอิม คอพอกมากเรียก คอโต้ อวัยวะส่วนท้ายทอยต่อกับคอ เรียก คอต่อ คอต้นไม้ที่ต่อกับลำต้น เรียก คอปัด
  • คอ
    แปลว่า : ส่วนที่คอดของสิ่งของระหว่างตัวกับปาก เรียก คอ เช่น คอน้ำเต้า คอคนโท คอข้อง คอหม้อ คอขวด คอไห.