ภาษาอีสานหมวด "ค" 301 - 310 จาก 975

  • คะ
    แปลว่า : คำนำหน้าของคำที่มีอักษร ค. ขึ้นต้น มีความหมายอย่างเดียวกับคำหลัง คำชนิดนี้เรียกคำอัพภาส คือ คำซ้ำ เช่น คะเคี่ยน คะเคลื่อน คะคลาด เป็นต้น.
  • คะคลาด
    แปลว่า : คลาด ปราศจาก อย่างว่า คะคลาดฮ้างเหินห่างไกลกัน สองแพงพลัดพรากกันไกลล้ำ ดงดอนไม้คีรีฮาวเถื่อน เยื้อนยากเบิ้นแยงหน้าบ่เห็น (กลอน).
  • คะเคี่ยน
    แปลว่า : เคลื่อน ย้าย ย้ายจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง เรียก คะเคี่ยน คะเคลื่อน ก็ว่า อย่างว่า โพธิสัตว์เจ้าทรงพระกรอุ้มอ่อนคะเคี่ยนย้าย ไปหน้าบ่เซา (เวส-กลอน).
  • คะซาม
    แปลว่า : กำลัง เด็กชายกำลังเป็นหนุ่ม เรียก คะซามเป็นหนุ่ม ผลไม้กำลังสุก เรียก คะซามเฮืองเฮือ อย่างว่า ส้มบ่หวานคะชามเฮืองเฮือ หมากเดื่อนั้นดูอาจดกหนา แมงหมี่มาเกิดในเหลือล้น สุกแต่ต้นเท้าฮอดเถิงปลาย เป็นคนชายฮ่ำเพิ่งให้ถี่ อย่าได้เฮ็ดสั้นสั้น จำจั้นบ่ดี(กาพย์ปู่).
  • คะเณย์
    แปลว่า : ทิศตะวันอกเฉียงใต้ เรียก ทิศอาคะเณย์ คะเณย์ ก็ว่า อย่างว่า มันก็หลิงเห็นแจ้งหอนางนงถ่าว ตั้งต่อหน้าหนก้ำฝ่ายคะเณย์ (สังข์).
  • คะนงเน่ง
    แปลว่า : บัง, บด อย่างว่า มหาเมฆเค้าคะนงเน่งบังบด สุรภาเอียงอว่ายแลงลงไม้ วันนั้นอาทิตย์จรจันทร์แจ้งเดือนสามสัตพีช ฉลูฮูปเนื้อเนาซ้อยชอบยาม (สังข์).
  • คะน่อง
    แปลว่า : ส้นเท้า ส้นเท้าเรียก คะน่อง อย่างว่า ตัวหนึ่งขบคะน่อง ตัวหนึ่งจ่องถงลาย พราหมณ์ย้านตายฮ้องไห้ (เวส).
  • คะนิง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายต้นตะโกหรือมะพลับ ผลสุกมีรสหวาน กินได้ เรียก ต้นคะนิง.
  • คะนิง
    แปลว่า : คะนึง, คิดถึง การรำพึงคิดถึงเรียก คะนิง อย่างว่า แหนงสู้แทงทวงม้างตนตายพร้อมพร่ำ รือจักอดอยู่ได้มีมั่วฮอดคะนิง แท้แล้ว (สังข์).
  • คะมะ
    แปลว่า : ตกใจ, กลัว อย่างว่า นางก็ตกคะมะไห้ดิ้นดั่งทวงสลบ พระกาโยเหลืองหล่าตนตายกระด้าง (สังข์).