ภาษาอีสานหมวด "ค" 311 - 320 จาก 975

  • คะโมย
    แปลว่า : โจร, ขโมย ผู้ลักสิ่งของเรียก คะโมย กะโมย ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้ศัตรูดั้นคะโมยแดนดั้นลอบ (กา).
  • คะยอม
    แปลว่า : พะยอม ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งออกดอกในฤดูแล้ง มีกลิ่นหอม อย่างว่า เดือนสามค้อย คะยอมยอยบานแบ่ง เดือนสี่ค้อยคะยอมห้อยหล่นเหลือง (บ.) ฟังยินอุลุโกฮ้องเฮียงคณาเปล้าป่า งิ้วหนุ่มดั้วบานบ้างดาดแดง (สังข์).
  • คะยะ
    แปลว่า : ระยะ, เวลา การทำโดยไม่มีเวลาหยุดพักผ่อน เรียกว่า เฮ็ดบ่มีคะยะ.
  • คะยะ
    แปลว่า : กระโดดไปอย่างกบเต้น เรยก เต้นคะยะ ถ้าใหญ่กว่ากบเรียก เต้นโคะโยะ ถ้าเล็กกว่ากบเช่นเขียด เรียก เต้นเคาะเยาะ.
  • คะยะ
    แปลว่า : กระเถิบ, ขยับ.
  • คะยือ
    แปลว่า : โรคหืด โรคมีเศลษม์ติดในลำคอ หายใจไม่สะดวก เรียก โรคคะยือ อย่างว่า เป็นคะยือไออยู่ทีโทดทีโทด (บ.).
  • คะยูง
    แปลว่า : พะยูง ชื่อพรรณไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง มีแก่นมาก แก่นสีดำ เป็นไม้ที่มีราคา เหมาะสำหรับเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทำตู้เตียง เก้าอี้ เรียก ต้นคะยูง.
  • คะโยง
    แปลว่า : เต้นสูง กระโดดสูง การเต้นสูงเรียก เต้นคะโยง สักกะโยงโคงเคง ก็ว่า อย่างว่า เฮวแฮงผันผาดผยองคะโยงเต้น (กา).
  • คะลำ
    แปลว่า : ผิด บาป กรรม สิ่งใดที่ทำลงไปผิดจารีตประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ผิดศีลธรรมในทางพระศาสนา จะมีโทษมาก โทษน้อย หรือไม่มีโทษ แต่สังคมรังเกียจ สิ่งนั้นเรียก คะลำ อย่างว่า ของมันผิดอย่าได้กระทำ ของคะลำอย่าได้ไปต้อง ของพี่น้องอย่าได้ไปซูน (บ.).
  • คะวี
    แปลว่า : ยุ่งเหยิง สับสน การงานที่อากูลวุ่นวายยุ่งเหยิง เรียก คะวี อย่างว่า แม้นว่าการหลวงหยุ้งแสนคะวีแวนมาก (สังข์).