ภาษาอีสานหมวด "ค" 331 - 340 จาก 975

  • คัดก้อง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเกิดในป่าทึบ และตามริมน้ำ เป็นไม้เนื้อเบา ใช้เปลือกทำอ้องรัดคอควายเรียก ต้นคัดก้อง.
  • คัดเค้า
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีหนามตลอดลำต้น ดอกหอม เรียก คัดเค้า ขัดเค้า ก็ว่า อย่างว่า หอมดอกจิกคึดฮอดบ้านหลัง หอมดอกฮังคึดฮอดบ้านเก่า หอมดอกคัดเค้าคือชิเถ้าบ่เป็น (กลอน).
  • คัน
    แปลว่า : แนวดินที่พูนขึ้นสำหรับกั้นน้ำในนา เรียก คันนา คันแทนา ก็ว่า อย่างว่า อย่าซะมาตั๋วล้อลวงกลให้หลงเชื่อ หลายเนอ ตั๋วให้ป้านคันแทไฮ่สุดชั่วตา ตั๋วให้ป้านคันแทนาสุดชั่วท่ง กะปูโค้งมาลักลอง กะปูทองมาลักดั้น ในหั้นส่องบ่เห็น (ผญา).
  • คัน
    แปลว่า : ส่วนที่เป็นด้ามสำหรับถือเรียกคัน เช่น คันบวย คันจอง คันเบ็ด คันโซ้ ส่วนที่มีคันเอาผ้าผุกแขวนไว้ เป็นนิมิตรหมายบอกเหตุการณ์ข้างหน้าเรียก คันปิ่น อย่างว่า แล้วแต่ตั้งคันปิ่นปุนแขวนเขาก็เค็มความจัดฮาบแฮงเฮวฮ้อน ทั้งสองย้ายยังชลไห้หอดขัดบ่ได้ทังเยื้อนย่างเชิง
  • คัน
    แปลว่า : กระสัน อยาก เช่น อยากเกาเรียก คันมือ อยากพูดเรียก คันปาก อยากเสบสมเรียก คันหีคันโค็ย อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่).
  • คั้น
    แปลว่า : บีบ บีบด้วยมือเรียก คั้น เอาผักคลุกเกลือขยำเข้ากัน เรียก คั้นส้มผัก เอาปลาคลุกเกลือคั้นเข้ากันเรียก คั้นส้มปลา อย่างว่า เอาหีนแฮ่มาคั้นส้มสามปีซิเปื่อยบ่ หลกกกเข้ามาฝังหีนก้อนล้านมินซิหมั้นบ่อนใด (ผญา).
  • คันขอ
    แปลว่า : ไม้ไผ่เจาะรูที่กกคัดไลไว้ ใช้สำหรับชักน้ำขึ้นจากบ่อ เรียก คันขอตักน้ำ ส่วนคันขอเกาะอย่างอื่นก็มีลักษณะคล้ายกันนี้.
  • คันคาก
    แปลว่า : คางคก ชื่อสัตว์สี่เท้าจำพวกกบหรือเขียดแต่หนังหนาเป็นตะปุ่มตะป่ำ เรียก เขียดคันคาก ขี้คันคาก ก็ว่า อย่างว่า ขี้คันคากจาแบกขอนยาง (ภาษิต).
  • คันจอง
    แปลว่า : ด้ามกระจ่า กระจ่าสำหรับตักแกงเรียก จอง จวัก ก็ว่า จองที่มีด้ามสำหรับจับเรียก คันจอง อย่างว่า จองบ่มีด้ามชิเสียทรงทังวาด เขาชิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าวบ่มีเอิ้นว่าจอง จองใช้กะลามะพร้าวทำให้มีด้าม.
  • คันจอง
    แปลว่า : ชื่องูชนิดหนึ่ง เวลาแผ่แม่เบี้ยจะมีลักษณะคล้ายคันจองเรียก งูเห่าคันจอง.