ภาษาอีสานหมวด "ต" 101 - 110 จาก 779
-
ตวยคำ
แปลว่า : ขันหมาก ขันหมากเรียก ตวยคำ อย่างว่า สาวก็ยอตวยคำยื่นสลาถวายเจ้า (กา). -
ต้วยซ้วย
แปลว่า : หย่อนยาน สิ่งที่มีลักษณะหย่อนยานลงมาเรียก ยานต้วยซ้วย อย่างว่า นมมันยานต้วยซ้วย (เวส). -
ต้วยต้วย
แปลว่า : ช้า เนิบๆ พูดช้าเรียก เว้าต้วยต้วย เดินเนิบๆ เรียก ย่างต้วยต้วย. -
ตอ
แปลว่า : โคนไม้ที่ถูกตัดหรือหักลง เรียก ตอ อย่างว่า นึกว่าตอคะยูงแล้วแมวสีสังมาโค่น นึกว่าไม้แก่นหล้อนสังมาปลิ้นป่งใบ (ผญา). -
ตอก
แปลว่า : ตี ทุบ เช่น ตอกตะปู ตำบั้งไฟเรียก ตอกบั้งไฟ อย่างว่า เขาพากันตอกเต้าตำหมื้อถ่านสาม (ผาแดง). -
ตอง
แปลว่า : ใบไม้ทุกชนิดเรียก ใบตอง มีชื่อตามที่เรียก เช่น ใบตองกล้วย ใบตองสะแบง ใบตองจิก ใบตองฮัง อย่างว่า องค์ผอมเพี้ยงตองตายเหลืองหล่า เสเนศน้อมหลายชั้นบ่บาน (สังข์). -
ตอง
แปลว่า : กรองน้ำ กรองน้ำครั่งด้วยตะกร้า เรียก ตองน้ำครั่ง อย่างว่า ลางพ่องเขียวแดงล้นคือคนตองครั่ง (ผาแดง). -
ต่อง
แปลว่า : เอาปลายเชือกทั้งสองผูกติดกันเป็นบ่วงหรือเป็นวง เรียก ต่อง. -
ต้อง
แปลว่า : สะท้อน ชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีผลกลมเท่าลูกส้มเขียวหวาน เรียก หมากต้อง กินเป็นอาหารได้ อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน). -
ต้อง
แปลว่า : ถุก กระทบ ไม่ถูกเรียก บ่ต้อง อย่างว่า ปืนบ่ต้องหนีเว้นชั่วไกล (กา) ลมพัดเรียก ลมต้อง อย่างว่า หลิงล่ำไม้ลมต้องปิ่นไป (กา) อยากจับเรียก อยากต้อง อย่างว่า ใผเห็นแล้วอยากต้องใจสบั้นท่าวทวง (เวส).