ภาษาอีสานหมวด "ต" 211 - 220 จาก 779
-
ตาก้ง
แปลว่า : ชื่อพืชผักชนิดหนึ่ง ต้นเล็ก ลำต้นอ่อน เรียก ผักตาก้ง. -
ตากบ
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นตากบ ต้นตะขบ ก็ว่า. -
ตากวาง
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ลูกกลม คล้ายลูกตาไก้ แต่โตกว่า เรียก ต้นตากวาง. -
ตาไก้
แปลว่า : กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม เมื่อสุกมีรสหวาน เรียก ต้นตาไก้. -
ตาเขิง
แปลว่า : เครื่องในของสัตว์จำพวกบดเอื้อง เรียก ตาเขิง. -
ตาแข้
แปลว่า : ดาวจรเข้ ชื่อดาวดวงหนึ่ง เรียก ดาวตาแข้ ดาวขี้แข้ ดาวหมูชัง ก็ว่า. -
ตาง
แปลว่า : แทน การแทนเรียก ตาง เช่นกินผลไม้แทนข้าว เรียก กินตาง อย่างว่า สองก็กินหมากไม้ตางเข้าซู่วัน (ผาแดง) กินขิงแทนข่าเรียก กินตาง อย่างว่า อดสาเยื้อนกินขิงตางข่า อดสาเว้าผีบ้าซามพ้อผู้ดี (ผญา). -
ตาง
แปลว่า : ผู้ทำหน้าที่แทนเรียก ผู้ตาง อย่างว่า อามาตย์เถ้าโดยท่านตางตา (สังข์) พระบาทให้อ้ายคว่างตางตน มันก็ตีงคำเชิญซู่ควงคราวฟ้า ตูจักมวลพลข้ามดงขวางล้านโยชน์ เจ้าสั่งป้าปุนตั้งแต่งการ (ฮุ่ง). -
ต่าง
แปลว่า : วัวต่าง ภาชนะสำหรับบรรทุกสิ่งของมีคานพาดไว้บนหลังสัตว์พาหนะ มีวัวและลาเป็นต้น ให้ห้อยลงมาทั้งสองข้าง โคหรือลาที่บรรทุกสิ่งของในลักษณะเช่นนั้น เรียก โคต่าง ลาต่าง. -
ต่าง
แปลว่า : แปลกกัน ต่างกัน สิ่งของที่มีอยู่ในถิ่นหนึ่ง เมื่อไปอยู่ถิ่นอื่น ถึงจะมีชื่อเหมือนกัน รสชาติอาจจะผิดแผกแตกต่างไปตามดินฟ้าอากาศ อย่างว่า อดเจ้าลองชิมส้มหมากนาวสีหวานเว่อ ต้นต่างต้นมันสิส้มต่างกัน (กลอน).