ภาษาอีสานหมวด "ต" 221 - 230 จาก 779
-
ต้าง
แปลว่า : เหนียง เนื้อส่วนที่ติดห้อยอยู่กับคางของสัตว์จำพวกนกหรือไก่ เรียก ต้างนก ต้างไก่. -
ต้างไก่
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดเล็ก ลำต้นเป็นปล้องๆ ใบสามแฉก เรียก ต้นต้างไก่ มีทังชนิดขาวและแดง ชนิดสีขาวเรียก ต้างไก่ขาว ชนิดสีแดง เรียก ต้างไก่แดง. -
ต้างหล้าง
แปลว่า : กว้าง ลึก หลุมที่มีลักษณะกว้างและลึก เรียก ต้างหล้าง อย่างว่า เจ้าต้างหล้างขุมขี้ยางสังมาคือชิใหญ่ ซั๊วข้างพุ้นแล้วมาซั๊วข้างพี้คือชิได้เทื่อละลึม (บ.). -
ต้างหู
แปลว่า : ต่างหู เครื่องประดับหูทำด้วยเงิน ทอง ทองนาค มีทั้งชนิดเล็กและใหญ่ อย่างว่า เค็งเค็งเสียงแวดวงถือต้าง (กา) ถ้านาดใหญ่เรียก ต้างโข่ง อย่างว่า ทัดดอกไม้ถือต้างโข่งคำ (กา). -
ตาชิง
แปลว่า : เครื่องหมายเป็นจุดๆ ที่อยู่บนคันชั่ง สำหรับบอกจำนวนน้ำหนัก เรียก ตาชิง. -
ตาด
แปลว่า : ลานหินเป็นชั้นๆ ลานหินเป็นพักๆ เรียก ตาด น้ำตกจากภูเขาซึ่งมีหินเป็นชั้นๆ เรียก น้ำตกตาด น้ำโตนตาด ก็ว่า อย่างว่า บาก็ยินแคลนค้านเซานอนในตาด (กา) แปวซะเลกว้างนองไหลตกตาด (กา) -
ตาด
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ผลมีรสฝาด ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นหมากตาด. -
ต้าดลาด
แปลว่า : ลื่นไถลไป การเดินลื่นถลาไปเรียก มื่นต้าดลาด อย่างว่า พราหมณ์ก็ต้าดลาดล้มโคมก้อนแห่งหีน (เวส-กลอน). -
ตาเต็ง
แปลว่า : เครื่องหมายเป็นจุดๆ ที่อยู่บนคันชั่งของเต็ง สำหรับบอกจำนวนน้ำหนักเรียก ตาเต็ง เต็งนี้ใช้สำหรับชั่งเงิน ทอง เป็นต้น. -
ตาเต่า
แปลว่า : หน่อไม้เล็กๆ ที่เกิดจากเหง้าไผ่ ปลายชี้ลงดิน เรียก หน่อไม้ตาเต่า.