ภาษาอีสานหมวด "ต" 251 - 260 จาก 779
-
ต้ามต้าม
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนกระโดดลงน้ำเสียงดังต้ามต้าม. -
ต่ามย่าม
แปลว่า : การสะพายย่ามแบบรุ่มร่าม เรียก พายถงต่ามย่าม อย่างว่า ตาพราหมณ์เถ้าพายถงต่ามย่าม แดดแฮ่งฮ้อนพราหมณ์เฒ่าแฮ่งเดิน (เวส-กลอน). -
ตาย
แปลว่า : สิ้นใจ สิ้นลมหายใจ เรียก ตาย อย่างว่า ความตายนี้แขวนคอทุกบาดอย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งกัน (ย่า) คึดต่อคนตายนี้บ่มีทางชิเห็นไง่ คือดั่งไฟมอดแล้วใผชิฮู้ปล่องไป (ย่า). -
ต่าย
แปลว่า : วนรอบไปมา เรียก ต่าย ไต่ ก็ว่า เช่น มดไต่ขอบด้ง อย่างว่า สงสารนี้วนตายเวียนเกิด คือมดแดงไต่ขอบด้งเวียนแล้วคอบเลิง (กลอน). -
ต้าย
แปลว่า : กำแพง เสาเขื่อน รั้ว กำแพง ปราการ เรียก ต้าย อย่างว่า ยังมีนัคเรศล้ำชั้นชื่อเป็งจาล นิคมคนดั่งเพ็งพอตื้อ เชียงหลวงล้นรุงรังล้านย่าน น้ำแผ่ล้อมระวังต้ายชั่วพัน (สังข์). -
ตารา
แปลว่า : ดวงดาว, ดารา. -
ตาล
แปลว่า : ต้นตาล อย่างว่า เฮียมนี้เป็นดั่งตาลปลายด้วนโกนโกอยู่กลางท่ง ฮากบ่เหลือเครือบ่เกี้ยวโทนโท้อยู่แต่ลำ คันเครือขิกบ่มาเกี้ยวใบเครือหวายบ่มาเกี่ยวก้าน ตาลต้นส่วนอยู่พลอยแท้แล้ว (บ.) หลิงดูพร้าวตาวตาลเขียวทุ่ม โซมโซ่เถ้าเห็นแล้วมาบทวง (สังข์). -
ตาลบัตร
แปลว่า : พัด พัดที่พระสงฆ์ใช้เรียก ตาลบัตร ตาลิบัตร พัด วี ก็ว่า พัดนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่ใช้กับกองบวช กองอัฐ กองกบิน เรียก ตาลบัตร ชนิดที่ทำให้แก่พระสงฆ์ที่ได้รับการหดสรง พัดที่ใช้สมัยพุทธกาลก็มี แต่เรียก วิชนี. -
ตาว
แปลว่า : ชื่ออาวุธรบของโบราณชนิดหนึ่งมีชื่อเรียก 2 อย่าง คือเรียก ตาว ง้าว อย่างว่า ประดับส่ำข้าถือดาบตาวตาม บาก็เกรงใจไปสู่นางเดินดั้น แม้งหนึ่งเถิงสถานกว้างดอนงามแฮงจอด คอนก็เซาแง่ชั้นทางน้อยล่วงคอน (ฮุ่ง). -
ตาว
แปลว่า : เต่าร้าง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบเป็นก้าน ผลเป็นทะลายคือเป็นแซง เหมือนแซงหมาก แต่เล็กกว่า เรียก หมากตาว อย่างว่า เตยตาวค้อขนุนยอมี้ม่วง เฟืองฝ่าส้มยาวดั้วหย่อนแซง (กา).