ภาษาอีสานหมวด "ต" 271 - 280 จาก 779
-
ต่ำ
แปลว่า : ก้มหน้า ทำอาการหน้าตกเรียก ต่ำหน้า อย่างว่า นางต่ำหน้าแค้นคั่งคนิงหลาน (สังข์). -
ต้ำ
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงกระโดดลงในน้ำเสียงดังต้ำ. -
ต่ำต้อย
แปลว่า : เลว, ทราม อย่างว่า อาฆาตด้วยทวายฮ้ายต่ำต้อย (สังข์). -
ตำนิน
แปลว่า : ผักตำลึง ชื่อผักเป็นเถาชนิดหนึ่งเกิดตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ เรียก ผักตำเนิน โบราณว่า ผักตำนินของกินแม่เถ้าตุ่ย แม่บ้านที่ดีต้องปลูกผักชนิดนี้ไว้ นอกจากเป็นพืชเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นอาหารเสริมประจำวัน ทำให้ผู้กินมีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์พีเหมือนหมู. -
ตำนินทอง
แปลว่า : กะทกรก ชื่อผักตำลึงชนิดหนึ่ง ใบสีแดง ผลกินได้ เรียก ตำนินทอง. -
ตำยาน
แปลว่า : กำยาน ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือตำยาน มีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาและเครื่องอบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม. -
ตำแย
แปลว่า : หมามุ่ย ชื่อพรรณไม้เถาจำพวกหนึ่ง มีสองชนิด ชนิดใหญ่ฝักแบน ชนิดเล็กฝักกลมเป็นขน ถูกร่างกายคนรู้สึกคันมาก เรียก หมากตำแย. -
ติ
แปลว่า : ตำหนิ, ติเตียน, ทักท้วง, แกล้ง แกล้งพูดเรียก ติเว้า อย่างว่า ช่างมาติแถลงเว้า เอาเลามาปลูก บ่แม่นเชื้อลูกอ้อยกิน ได้กะบ่หวาน ช่างมาติแถลงเว้าตีจอนฟอนเสียดงูเห่า ตีแหลวเสียดไก่น้อย ปลาย่างชิตื่นแมว ช่างมาติแถลงล้มตมบ่มีกะติหมื่น (ภาษิต). -
ติง
แปลว่า : เคลื่อน, ไหวไปมา ลมพัดใบไม้ไหวไปมา เรียก ติง ตีง ก็ว่า อย่างว่า สองกิ่งแก้วนิทเน่งมีตีง(กา) กกบ่เตื้องตีงตาย ตั้งแต่งา ง่าบ่เหลื้องไปเตื้องตั้งแต่ใบ (บ.). -
ติ่ง
แปลว่า : เนื้อเล็กที่งอกออกจากเนื้อใหญ่เรียก ติ่ง เช่น มือติ่ง ขาติ่ง แขนติ่ง และติ่งมันแกว เป็นต้น.