ภาษาอีสานหมวด "ต" 291 - 300 จาก 779
-
ติว
แปลว่า : ชื่อนกจำพวกหนึ่ง ตัวเล็กๆ สีเขียวคล้ายนกจิบ นกจำพวกนี้เวลาเผาศพมักจะมาเป็นจำนวนหมื่นๆ มาบินร่อนอยู่บนอากาศตรงที่ที่เผาศพ เรียก นกติว นกจิว ก็ว่า. -
ติ่ว
แปลว่า : มาตรานับแบบโบราณ นับจากหนึ่งไปโดยลำดับถึงติ่ว หนึ่งติ่วเท่ากับหนึ่งหมื่นล้าน อย่างว่า โยธานับติ่วตงตาตื้อ(กา). -
ติ่ว
แปลว่า : ยุ่งยาก, หนัก การงานที่ยุ่งยากหนักหนาโบราณเทียบกับติ่ว คือหนักยิ่งกว่าหนัก อย่างว่า แม่นว่าการแก่นต้นตื้อติ่วตงหนัก ลูกขอขันอาสาช่อยตีนตางเจ้า ท่อไป่ธรงความฮู้อาคมคุณประเสริฐ ขอขาบเจ้าลุ่มฟ้าเดินดั้นดุ่งเฮียนก่อนเถิน(สังข์). -
ติ้ว
แปลว่า : แต้ว ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบและดอกใช้กินเป็นอาหารได้ เรียก ต้นติ้ว มีหลายชนิด รสเปรี้ยวสีขาว เรียก ติ้วขาว ชนิดสีแดง เรียก ติ้วแดง ติ้วเลือด ก็ว่า ชนิดสีหม่น เรียก ติ้วหม่น ติ้วหม่อน ก็ว่า. -
ติ้ว
แปลว่า : ซี่ไม้ไผ่เล็กๆ เขียนเลขกำกับไว้ที่ปลายซี่ไม้ไผ่ จำนวนไม้ไผ่มีเท่าไร เลขก็มีเท่านั้น สลากก็มีเลขตรงกัน ใส่กระบอกไม้ไผ่ไว้ เมื่อคนไปบูชาเทวรูปหรือสิ่งสักดิ์สิทธิ์ จะไปสั่นติ้วนี้ เพื่อเสียงโชควาสนาชาตาราศี ถ้าที่ไหนมีสั่นติ้วคนจะนิยมไปเสี่ยงชาตาโชคลาภ. -
ติ่วซ้อย
แปลว่า : เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่ง คนที่มีคุณประโยชน์มาก เช่น พระราชมหากษัตริย์ที่ปกครองคนทั่วประเทศ เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ โบราณเรียก เจ้าติ่วซ้อย ถ้าเป็นพระราชาเรียก เจ้าติ่วสร้อย พระราชินี เรียก เจ้าติ่วซ้อย. -
ตี
แปลว่า : ตีด้วยมือ เรียก ตี อย่างว่า ตีเจ็บแล้วแสนชิออยกะปานด่า แม่นว่าเว้าจ้อยจ้อยก็ปานค้อนต่อยหัว ตีด้วยฝีปากคือพูดกระทบกระแทกแดกดัน ก็เรียก ตี อย่างว่า เก้าชิฆ่าสิบชิข้าให้เอาแก่นคะยูงตี อย่าได้เอาบาลีต่อยตีตางค้อน(ผญา). -
ตี
แปลว่า : หล่อ, สี หล่อเทียนสีเทียน เรียก ตีเทียน อย่างว่า เฮาจักตีเทียนน้อมเถิงอินทร์เทวราช ขอเอาลูกแก่นแก้วชายกล้าเกิดดอม (กา). -
ตี
แปลว่า : เสพ งัน เสพงันด้วยดนตรี มีปี่ แคน ฆ้อง กลอง เรียก ตี อย่างว่า เขาก็ตีโพนพิณเสพสังข์เสียงห้าว ระงมงันก้องเสียงนันคีคื่น ปานดั่งเสพท่อนท้าวเมืองฟ้าฟากสวรรค์ (บ.). -
ตี่
แปลว่า : ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งเวลาเล่นเด็กจะร้องตี่ๆ แล้ววิ่งไปจับกัน เรียก เล่นหมากตี่ หมากอี่ ก็ว่า.